dot dot


Facebook page
BAMBI
WBW
สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
ศูนย์นมแม่แห้งประเทศไทย
Birth a Baby by Silk Laef


WBW 2007:Breastfeeding:1st Hour Save One Million Babies article

 

สิ่งนี้เริ่มต้นทันทีเมื่อแรกเกิด  สิ่งแรกที่เราควรกระทำหลังจากได้กำเนิดขึ้นมา...ก็คือการได้ดูดนมจากอกแม่  เป็นการกระทำที่เปี่ยมด้วยความรักและความเอื้ออาทร  เราไม่อาจรอดชีวิตได้หากปราศจากการกระทำนี้  มันเป็นเรื่องที่ชัดเจน เป็นวิถีแห่งชีวิตและเป็นสัจธรรม

            ดาไล ลามะ และโฮเวิร์ด ซี คัทเลอร์,

The Art of Happiness A Handbook for Living.1998        

 

 

 

ชั่วโมงแรก...ชั่วโมงทองของชีวิต

ทารกค้นหาเต้านมมารดา  แม่และลูกสามารถร่วมกันทำกิจกรรมนี้จนสำเร็จ เมื่อเราศรัทธาในปฎิสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูก ด้วยการให้คำแนะนำและดูแลด้านการเลี้ยงดูทารกอย่างถูกต้อง  นี่คือจุดเริ่มต้นของการมีชีวิต และน้ำนมแม่เป็นสายใยชีวิตระหว่างแม่กับลูก 

                          

ชั่วโมงแรกสำคัญอย่างไร

เมื่อทารกที่สุขภาพแข็งแรงได้แนบสนิทเนื้อแนบเนื้อกับทรวงอกและหน้าท้องของมารดาทันทีเมื่อแรกคลอด อกอุ่นของแม่จะช่วยกระตุ้นให้ทารก มีความตื่นตัว  สามารถคืบคลาน เมื่อได้รับการกระตุ้นจากสัมผัสอันอ่อนโยนของมารดา ได้อิงแอบแนบอุทร และเอื้อมมือไขว่คว้าเต้านมของเธอ13  ทารกเริ่มสัมผัสและนวดเฟ้นเต้านม  สัมผัสอันอ่อนโยนจากศีรษะและมือของทารกกระตุ้นการหลั่งสาร ออกซิโตซิน9 ในมารดา น้ำนมจึงเริ่มหลั่งไหลและความรักความผูกพันที่มีต่อลูกก็ยิ่งเพิ่มทวี  หลังจากสูดดม อ้าปากงับและเลียหัวนมของแม่แล้ว ทารกก็จะเกาะกุมเต้านมและเริ่มดูดดื่มน้ำนมเพื่อยังชีพ  กระบวนการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของลูกมนุษย์

ถึงแม้ว่าได้มีนักประพันธ์หลายคนบรรยายพฤติกรรมปกติของทารกนี้เอาไว้7,13 เราพิ่งเริ่มค้นพบ ความสำคัญของการให้โอกาสเช่นนี้ต่อแม่และลูก  นับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ได้ประเมินผลกระทบของเวลาในการให้นมแม่ครั้งแรกกับอัตราการตายของทารก และพบว่าการตายอาจลดน้อยลง หากทารกได้เริ่มดูดนมแม่ในระหว่างชั่วโมงแรกของชีวิต (ดูในกล่องรายงานการวิจัย)

 

เพิ่มประสิทธิผลของน้ำนมแม่ด้วยการกินนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก

 

คู่มือการให้อาหารทารกและเด็กขององค์การอนามัยโลกและกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนานหกเดือน  หลังจากนั้นจึงให้นมแม่ร่วมกับอาหารเสริมที่เหมาะสมจนเด็กมีอายุครบสองขวบหรือเกินกว่านั้น

การเริ่มให้นมแม่ตามปกติในช่วงนาทีแรกหรือชั่วโมงแรกนั้นเริ่มต้นด้วยการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ ซึ่งช่วยให้การให้นมแม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  BFHI กำหนดให้มีการสัมผัสระหว่างแม่และทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างบันไดขั้นที่ 4 ในบันได10 ขั้นสู่ความสำเร็จในการให้นมแม่ขององค์กรอนามัยโลกและองค์กรยูนิเซฟ    

 

นมแม่...สิทธิแท้ของแม่และเด็ก

 

สนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กรับรองสิทธิในการดำรงชีวิตให้แก่เด็กทุกคน เพื่อความอยู่รอดและพัฒนาการที่ดี  การให้นมแม่หลังคลอดหนึ่งชั่วโมงช่วยในการรอดชีวิตของทารก  ผู้หญิงมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลนี้และได้รับความช่วยเหลือในการเริ่มต้นให้นมแม่แก่ลูก

 

ความสำคัญของการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อหลังคลอดและการให้นมแม่ภายในชั่วโมงแรก

 

1       ไออุ่นจากกายของแม่ช่วยรักษาความอบอุ่นให้ทารก ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อทารกที่มีขนาดตัวเล็กและน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าปกติ4

2       ทารกจะความผ่อนคลาย สงบ การหายใจและอัตราการเต้นหัวใจก็สม่ำเสมอขึ้น7

3       ทารกจะได้สัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียจากแม่ที่ส่วนใหญ่เป็นประโยชน์และไม่มีอันตรายทั้งในน้ำนมแม่ก็มีภูมิคุ้มกันอยู่ด้วย  เชื้อแบคทีเรียของแม่ที่แพร่ขยายพันธุ์ในทางเดินอาหารและผิวหนังทารกจะ ต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียอันตรายที่มาจากบุคคลากรทางการแพทย์และสภาพแวดล้อม น้ำนมแม่จึงช่วยหยุดยั้งการติดเชื้อได้5

4       ทารกได้รับหัวน้ำนมสีเหลืองจากการดูดนมแม่ครั้งแรก น้ำนมสีทองคำนี้บางครั้งถูกเรียกว่าของขวัญแห่งชีวิต

·        หัวน้ำนมสีเหลืองนั้นอุดมด้วยภูมิคุ้มกัน แอนติบอดี และโปรตีนป้องกันโรคอื่นๆ   มันทำหน้าที่เป็นวัคซีนขนานแรกของทารก ช่วยป้องกันโรคติดเชื้อมากมาย และยังช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของทารกที่กำลังพัฒนาขึ้นมาอีกด้วย

·        หัวน้ำนมสีเหลืองมีสารที่ช่วยการเจริญเติบโต (growth factor)  ซึ่งช่วยให้ลำไส้ใหญ่ของทารกแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุลชีพและเชื้อโรคอื่นๆ จึงเข้าสู่ร่างกายทารกได้ยากขึ้น

·        หัวนำนมสีเหลืองอุดมด้วยวิตามินเอ ซึ่งช่วยป้องกันดวงตาและลดการอักเสบ

·        ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้ขี้เทาถูกกำจัดออกจากช่องท้องได้อย่างรวดเร็ว และสารในร่างกายทารกที่ทำให้เกิดอาการตัวเหลืองก็จะถูกขับถ่ายไปด้วย ดังนั้นโอกาสที่ทารกจะตัวเหลืองจะลดน้อยลง

·        มีปริมาณน้อย เหมาะสำหรับทารกแรกคลอด

5       การสัมผัส  และ ดูดเต้านมกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ

·        ออกซิโตซิน ทำให้มดลูกหดตัว  ซึ่งอาจช่วยในการคลอดรก และลดการเสียเลือดหลังคลอด10

·        ออกซิโตซิน กระตุ้นฮอร์โมนต่างๆ  ทำให้แม่รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย รักและผูกพันกับลูกของตน9

·        ออกซิโตซิน กระตุ้นการหลั่งน้ำนม

6       ผู้หญิงรู้สึกมีความสุขอย่างเหลือล้นเมื่อได้เห็นหน้าลูกเป็นครั้งแรก  และส่วนใหญ่พ่อจะรู้สึกร่วมในความสุขนั้นด้วย  สายใยความผูกพันระหว่างแม่และลูกได้เริ่มต้นขึ้น

 

โดยสรุปแล้ว สัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ และการให้หัวนำนมสีเหลืองนั้นมีส่วนช่วยลดอัตราการตายในช่วงเดือนแรกของชีวิต  นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวมีผลในการยืดระยะเวลาการให้นมแม่เพียงอย่างเดียวและการให้นมแม่ให้นานขึ้นในเดือนต่อๆ  ไป ยังทำให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรงและอัตราการตายต่ำลงด้วย6,12

 

การให้นมแม่ในชั่วโมงแรกเป็นเพียงวิธีการเดียวที่รับรองได้ว่าแม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวต่อไปรึเปล่า ไม่เลย  แม่ยังจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองอย่างเดียวจนครบ 6 เดือน  จากครอบครัว บุคคลากรทางการแพทย์ ผดุงครรภ์ หรือบุคคลในชุมชน ล้วนเป็นเครือข่ายสนับสนุนที่มีความสำคัญ  แพทย์ พยาบาล สาธารณสุข และบุคคลอื่นๆ จำเป็นต้องได้รับฝึกฝนให้มองเห็นปัญหา ประเมินคุณภาพการให้นมแม่ อีกทั้งมีความรู้ความเชี่ยวชาญพอที่จะช่วยแม่แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้  ช่วงเวลาการนัดพบแพทย์ที่กำหนดไว้ที่  48-72 ชั่วโมงหลังคลอด หนึ่งสัปดาห์หลังคลอด และช่วงเวลาที่เหมาะสมหลังจากนั้น เปิดโอกาสให้สามารถเข้ามาแก้ปัญหาได้ทันท่วงที หรือ ให้กำลังใจแก่แม่เมื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดำเนินไปด้วยดี     

การริเริ่มโครงการ BFHI ที่มี 10 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการให้นมแม่ขึ้นมาใหม่ พร้อมกับการปฏิบัติตาม International Code of Marketing of Breast-milk Substitutes และ มติของสมัชชาการอนามัยโลกเป็นโครงสร้างค้ำจุนที่ช่วยป้องกัน ส่งเสริม และ สนับสนุนการให้นมแม่ให้ประสบความสำเร็จสูงสุด

 

นโยบายมีความสำคัญ

เราไม่ทราบว่าทารกกี่คนได้รับสัมผัสโอบอุ้มจากแม่และได้รับนมแม่ในช่วงชั่วโมงแรกของชีวิต

 

10 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการให้นมแม่ที่รวบรวมอยู่ใน BFHI  มีขั้นตอนหนึ่งที่กำหนดให้ช่วยเหลือในการให้นมแม่ใช่ช่วงชั่วโมงแรกของชีวิต  ปัจจุบัน เราเข้าใจแล้วว่าทารกทุกคนควรได้สัมผัสแนบชิด/สัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ แม่ทันทีหลังคลอด และมีโอกาสดูดนมแม่ทันทีที่พร้อม

 

ขั้นตอนอื่นที่เพิ่มโอกาสของการให้นมแม่เพียงอย่างเดียวคือ การสอนท่าให้นมแม่และจัดตำแหน่งทารกให้เหมาะสม, การให้แม่และลูกได้อยู่ด้วยกันหลังคลอด, สนับสนุนการให้นมเมื่อทารกเรียกร้อง, หลีกเลี่ยงการใช้หัวนมปลอม หรือ จุกนมหลอก และหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มอื่นๆ ที่แพทย์ไม่ได้กำหนด  ในโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก อัตราการให้นมแม่ในระยะแรกเริ่ม การให้นมแม่เพียงอย่างเดียว และระยะเวลาในการให้นมแม่อยู่ในระดับที่ดีขึ้น    

  

# 1 รายงานการวิจัย

Edmond K et al (2006) Delayed Breastfeeding Initiation Increases Risk of Neonatal Mortality. Pediatrics, 117:380-386

             Edmond KM, Bard EC, Kirkwood BA. Meeting the child survival millennium development goal.

How many lives   can we save by increasing coverage of early initiation of breastfeeding? Poster presentation at the Child Survival Countdown Conference, London UK. December 2005.

 

ถ้าทารกได้นมแม่ภายในชั่วโมงแรก อาจรักษาชีวิตทารกได้หนึ่งล้านคน

นักวิจัยในเขตชนบทของประเทศกานา ซึ่งการเริ่มให้นมแม่ตั้งแต่แรกเริ่มไม่ใช่วิถีปฏิบัติตามปกติ พบว่าทารกที่ได้นมแม่ภายในชั่วโมงแรกของชีวิตมีโอกาสรอดชีวิตหลังคลอดสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้นมแม่ (Edmond et al, 2006)

·        ทารกที่ไม่ได้นมแม่ภายใน 24 ชั่วโมงแรกของชีวิตมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าทารกที่ได้นมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกถึง 2.5 เท่า ไม่ว่าจะได้นมแม่เพียงอย่างเดียวหรือเพียงบางส่วนก็ตาม

·        30 เปอร์เซนต์ของทารกที่ทำการศึกษาได้รับอาหารแข็งหรือนมชนิดอื่นก่อนอายุครบหนึ่งเดือน

·        ทารกเหล่านี้มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวถึง 4 เท่า

·        ข้อสรุป

สำหรับเขตชนบทในประเทศกานา

·        16 เปอร์เซนต์ของการตายในทารกแรกเกิดสามารถป้องกันได้ หากทารกได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวตั้งแต่วันแรกของชีวิต

·        22 เปอร์เซนต์ของการตายในทารกแรกเกิดสามารถป้องกันได้ หากทารกได้รับนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงหลังการคลอด

 

 

#2 วิธีเริ่มให้นมแม่ในช่วงชั่วโมงแรกของชีวิต1, 7, 11

  

1    จัดหาบุคคลากรที่เหมาะสม มีความเข้าใจถึงความสำคัญนี้และคำนึงถึงขนบประเพณีที่มีในท้องถิ่น ให้มาอยู่เคียงข้างแม่ระหว่างคลอด

2    สนับสนุนวิธีต่างๆ ที่ช่วยเหลือผู้หญิงระหว่างการคลอดให้สุขสบายขึ้นโดยไม่ต้องใช้ยา เช่นการนวด  สุคนธบำบัด, ธาราบำบัด, การเปลี่ยนท่าและเคลื่อนไหว3

3    ยินยอมให้แม่เลือกอยู่ในท่าคลอดที่แม่พอใจ7โดยไม่จำเป็นต้องนอนในท่าขึ้นขาหยั่ง

4     เช็ดตัวทารกให้แห้งอย่างรวดเร็ว เก็บครีมสีขาวตามธรรมชาติ (vernix) ที่ช่วยลดการระคายเคืองเอาไว้

5     จับทารกที่ยังไม่สวมเสื้อผ้าให้นอนคว่ำหน้าบนทรวงอกที่เปล่าเปลือยของแม่ แล้วใช้ผ้าห่มทั้งคู่เอาไว้

6     ปล่อยทารกให้ซุกไซ้หาเต้านม  แม่สามารถใช้สัมผัสกระตุ้นลูกได้และอาจจัดทารกให้อยู่ใกล้หัวนมมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ควรบังคับทารกให้งับหัวนม

7     ปล่อยให้ทารกแนบสนิทชิดเนื้อกับแม่จนจบการให้นมครั้งแรก หรือจนกว่าแม่จะพอใจ

8     ผู้หญิงที่คลอดลูกด้วยการผ่าตัดควรได้โอบอุ้มลูกอย่างใกล้ชิดทันทีหลังคลอด

9     เลื่อนขั้นตอนที่ก่อความเครียดและแทรกแซงความสัมพันธ์แม่ลูกออกไป  ทารกควรได้รับการชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูง และได้รับวัคซีนป้องกันโรคหลังจากดูดนมแม่แล้ว1, 11

10   ทารกไม่ควรได้รับของเหลวหรืออาหารใดๆ นอกจากเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์1, 11

 

 

# 3 ความเชื่อที่ผิด อุปสรรคต่อการเริ่มให้นมแม่

 

1. หัวนำนมสีเหลืองไม่ดี หรือแม้แต่เป็นอันตรายต่อทารก - ไม่จริง

 

หัวนำนมสีเหลืองจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามปกติ          

      - เป็นวัคซีนขนานแรกที่ช่วยป้องกันลำไส้อักเสบและการติดเชื้ออื่นๆ

- เป็นยาระบายเพื่อช่วยลดความรุนแรงของอาการตัวเหลือง

 

2. ทารกจำเป็นต้องได้รับชาสมุนไพรหรือของเหลวอื่นๆ ก่อนนมแม่ -  ไม่จริง

 

การให้อาหารใดๆ (ก่อนเริ่มให้นมแม่) เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ลดโอกาสที่ทารกจะได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว และร่นระยะเวลาการให้นมแม่ลง6,8,11

 

3. หัวนำนมสีเหลืองและนมแม่ไม่เพียงพอสำหรับทารก -  ไม่จริง

 

หัวนำนมสีเหลืองนั้นเพียงพอสำหรับอาหารมื้อแรก5  การที่ทารกแรกเกิดน้ำหนักลดลง 3-6 เปอร์เซนต์เป็นเรื่องปกติ  เพราะทารกมีน้ำและน้ำตาลสะสมในร่างกายสำหรับใช้ในช่วงเวลานี้

 

4. ทารกจะรู้สึกหนาว – ไม่จริง

 

ไออุ่นจากอกแม่เป็นอุณหภูมิที่ปลอดภัยสำหรับทารก เมื่อมีการสำผัสแบบเนื้อแนบเนื้อกับแม่5  ผิวกายของแม่จะมีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 0.5 องศาเซลเซียสภายใน 2 นาที หลังจากวางทารกลงไป

 

 5. หลังเจ็บท้องและคลอดบุตรแล้ว แม่เหนื่อยเกินกว่าจะให้นมลูกได้ทันที  - ไม่จริง

สาร ออกซิโตซิน ที่ถูกกระตุ้นให้หลั่งด้วยสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ กับลูกและการให้นมช่วยผ่อนคลายผู้หญิงหลังคลอด

 

6. การดูดปาก จมูก และลำคอทารก ก่อนการสูดหายใจครั้งแรกเพื่อป้องกันการสำลักน้ำคร่ำเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทารกถ่ายอุจจาระระหว่างกระบวนการคลอด – ไม่จริง

 

การทำ suction ในทารกแรกเกิดที่สุขภาพดีไม่ช่วยลดการสำลักน้ำคร่ำ และอาจทำให้เนื้อเยื่อในปาก ลำคอและเส้นเสียงได้รับความเสียหาย  นอกจากนี้ การดูดสารทางเดินอาหารยังเป็นอุปสรรคต่อการให้นมแม่อีกด้วย13

 

7. จะต้องให้วิตามิเคและหยอดยาป้องกันการติดเชื้อโรคหนองในที่ตาทันทีหลังการคลอด  - ไม่จริง

 

 American College of Obsterics and Gynaecology และ Academy of Breastfeeding Medicine ระบุว่าสามารถเลื่อนการป้องกันที่จำเป็นนี้ออกไปได้หนึ่งชั่วโมง จนกว่าจะเสร็จจากการให้นมแม่ โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ต่อเด็ก11 ไม่ว่าในกรณีใดก็ไม่ควรแยกแม่กับลูกออกจากกัน

 

8. ผู้หญิงจำเป็นต้องได้รับยาช่วยบรรเทาความเจ็บปวดระหว่างคลอด  - ไม่จริง

 

การใช้ยาชาหรือยาสลบอาจทำให้ทารกเซื่องซึม เป็นอุปสรรคต่อการซุกไซ้หาเต้านม และทำให้การให้นมครั้งแรกล่าช้าไปได้หลายชั่วโมงถึงหลายวัน7  การบำบัดเสริมอื่นๆ รวมทั้งการจัดหาคนมาอยู่เป็นเพื่อนระหว่างการคลอดลูก ช่วยผู้หญิงให้รับมือกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น และผลการคลอดก็อาจดีขึ้นด้วย3

 

9. การให้ความช่วยเหลือแม่ในขั้นตอนนี้ไม่มีประโยชน์ สิ้นเปลืองเวลาและแรงงาน  - ไม่จริง

 

ในขณะที่ทารกอยู่บนอกแม่ เจ้าหน้าที่ดูแลคลอดสามารถทำการประเมินสุขภาพแม่และทารก อีกทั้งงานอื่นๆ ไปพร้อมกันได้11  ทารกจะหาวิธีไปถึงเต้านมด้วยตนเอง

 

หมายเหตุ  การใช้เวลาของการให้นมแม่ครั้งแรกเป็นตัวชี้วัดแนวทางปฏิบัติที่ดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญ  อย่างไรก็ตาม มันเกิดขึ้นในไม่กี่ประเทศเท่านั้น  จาก 60 ประเทศที่มีภาวะทุพโภชนา มีเพียง 38 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่ทำรายงานอัตราการให้นมแม่ในช่วงชั่วโมงแรกของชีวิต

See http://www.who.int/child-adolescent-health/publications/NUTRITION/consensus_statement.htm and /HIV_IF_Framework.htm

           

 

 

#4 สัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อสำคัญต่อแม่ที่มีเชื้อเอชไอวีไหม

 

แม้แต่ผู้หญิงที่การทดแทนนมแม่นั้นครบถ้วนตามหลัก AFASS คือเป็นที่ยอมรับ, ดำเนินการได้, เหมาะสมกับงบประมาณ, สามารถให้ต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และ ปลอดภัย  แม่ผู้เลือกที่จะงดการเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองควรได้สัมผัสแนบชิดเนื้อกับลูก  สายสัมพันธ์ระหว่างแม่ที่มีเชื้อเอชไอวีกับลูกมีความเปราะบางเป็นพิเศษ  สัมผัสเนื้อแนบเนื้อสร้างความใกล้ชิดสนิทสนม อันเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์แม่ลูก

ถ้าเงื่อนไขไม่ครบตาม AFASS สัมผัสเนื้อแนบเนื้อและการเริ่มต้นให้นมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรกมีความสำคัญต่อแม่และทารก  สำหรับทารกในกลุ่มนี้ การให้นมแม่เพียงอย่างเดียวมีความเสี่ยงในการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่ไปสู่ลูกน้อยกว่าการให้นมแม่สลับกับนมผสม 

จำไว้ว่าสำหรับผู้หญิงที่ไม่ทราบสถานภาพการติดเชื้อเอชไอวีของตนเอง ขอแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว

 

 

 

#5ช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs): ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงชั่วโมงแรกของชีวิต

ที่การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติในเดือนกันยายน ค.ศ.2000 ผู้นำโลกเห็นพ้องกันในเป้าหมายสำคัญอันเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตและความอดอยากของเด็ก  ประเทศที่ยากจนที่สุดหลายประเทศยังล้าหลังในการบรรลุ MDGs  การเริ่มให้นมแม่ในชั่วโมงแรกสามารถทำให้ MDG ข้อหนึ่งและสี่ประสบความสำเร็จได้  เรื่องนี้ได้รับการยืนยันโดยการประชุมคณะกรรมการประจำด้านต่างๆ ในค.ศ.2003 ซึ่งได้เรียกร้องให้มีเครื่องบ่งชี้คุณภาพสากลสำหรับการให้นมแม่ในระยะแรกเริ่ม   

 

MDG #1: กำจัดความยากจนข้นแค้นและความอดอยาก – โดยลดจำนวนพลเมืองที่มีปัญหาด้านความอดอยากลงไปให้ได้ครึ่งหนึ่ง

การให้นมแม่ในช่วงชั่วโมงแรกของชีวิตทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวมีอัตราเพิ่มขึ้นและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ยาวนานขึ้นด้วย  ความสำเร็จในการให้นมแม่มีส่วนอย่างมากต่อโภชนาการที่สมบูรณ์ครบถ้วนของเด็กในช่วงสองขวบแรก และช่วยป้องกันภาวะขาดสารอาหารและร่างกายแคระแกร็นซึ่งมักเริ่มต้นขึ้นในช่วงอายุนี้      

 

MDG#4: ลดอัตราตายของเด็ก – ลดอัตราการตายในเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบลงไปสองในสาม

การตายของเด็กส่วนใหญ่มีสาเหตุจากโรคท้องร่วงและโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยและมีอาการรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อการให้นมแม่ไม่ถึงเกณฑ์ที่ดีที่สุด8  40 เปอร์เซนต์ของการตายเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งเดือนแรกของชีวิต และนับเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการบรรลุ MDG    การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชั่วโมงแรกสามารถลดอัตราการตายของทารกแรกเกิดได้ (ดูกล่องรายงานการวิจัย)   และการเพิ่มจำนวนผู้ให้นมแม่ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่สุดสามารถลดอัตราตายเด็กโดยรวมได้    

 

United Nations The Millennium Development Goals: 2006 Report UN New York 

 

 

แนวทางปฏิบัติ

การเริ่มให้นมแม่ภายในชั่วโมงแรกของชีวิตมีศักยภาพที่จะส่งผลดีมหาศาลต่อสุขภาพของประชากรเด็กในโลก  การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษข้อที่ 1 และ 4  นโยบายจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงแรกเริ่มทั้งในระดับชุมชนและทั่วโลก

สำหรับโรงพยาบาลและหน่วยงานสูตินรีเวช

·    ประเมินสถานที่คลอดบุตรว่ามีอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่  กำหนดแผนการปฏิบัติเพื่อขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่พบ

·    สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทุกคนจดบันทึกว่ามีการเริ่มให้นมแม่ในช่วงชั่วโมงแรก

·    จัดการประชุมประจำเดือนเรื่องการให้นมแม่ในช่วงชั่วโมงแรกของชีวิตทารก เพื่อพิจารณานโยบายเชิงแผนการและปฏิบัติงานที่จะช่วยเพิ่มอัตราผู้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้นมาได้

·    จัดหาเอกสาร BFHI ที่เพิ่งผ่านการแก้ไขใหม่

·    ตรวจสอบผลกระทบที่วิธีคลอดมีต่อการเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อปรับเปลี่ยนกิจกรรมต่างๆ ที่ขัดจังหวะการให้นมแม่

 

สำหรับบุคลากรการแพทย์

·        สอนผู้ดูแลการคลอดในโรงพยาบาลและชุมชนให้อำนวยความสะดวกให้แก่การให้นมแม่ในชั่วโมงแรกหลังคลอด

·        ทบทวนหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการคลอด, การให้กำเนิด และการให้นมแม่ของผู้ให้บริการทางแพทย์และผดุงครรภ์ เพื่อให้แน่ใจว่ามีขั้นตอนที่สำคัญครบถ้วน

·        ให้กำลังใจแม่อย่างน้อยวันละหนึ่งคน

 

สำหรับครอบครัวและสมาชิกชุมชน

·        ให้ความรู้แก่ครอบครัวเกี่ยวกับความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระหว่างการตั้งครรภ์และทันทีหลังคลอดบุตร  ย่ายายและสมาชิกครอบครัวคนสำคัญอื่นๆ ควรอยู่ร่วมในการสนทนาด้วย

·        หาผู้นำชุมชนและผู้ถ่ายทอดข้อมูลซึ่งสามารถเผยแพร่ความรู้แก่ผู้คนทุกเพศทุกวัย ให้เห็นความสำคัญของการให้นมแม่ในช่วงชั่วโมงแรกและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว

·        ขอความช่วยเหลือจากสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลแก่ประชาชน  ออกข่าวเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เดือนละหนึ่งครั้ง

 

สำหรับผู้กำหนดนโยบาย

·        สนับสนุนให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่มีอิทธิพลอื่นๆ  อาทิ องค์กรต่างๆ ของสหประชาชาติ และ คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ให้รวมเวลาในการเริ่มต้นให้นมแม่เป็นตัวชี้วัดคุณภาพการดูแลแม่และเด็กที่ดีที่สุด
เอกสารอ้างอิง

 

1.      American College of Obstetrics and Gynecology. (2007). Breastfeeding: Maternal and infant aspects. Special report from ACOG. ACOG Clin Rev, 12(supp), 1s-16s.

2.      Bergstrom, A., Okong, P., & Ransjo-Arvidson, A. (2007). Immediate maternal thermal response to skin-to-skin care of newborn. Acta Paediatr, 96(5), 655-658.

 

3.      Dimkin, P., & O'Hara, M. (2002). Nonpharmacologic relief of pain during labor: Systematic reviews of five methods. American Journal of Obstetrics and Gynecology, 186(5, Supp), S131-S159.

4.      Fransson, A., Karlsson, H., & Nilsson, K. (2005). Temperature variation in newborn babies: Importance of physical contact with the mother. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed, 90, F500-F504.

5.      Hanson, L. (2004). Immunobiology of Human Milk: How Breastfeeding Protects Infants. Amarillo, TX: Pharmasoft Publishing.

6.      Kramer, M., Chalmers, B., Hodnett, E., & PROBIT Study Group. (2001). Promotion of breastfeeding intervention trial (PROBIT): A randomized trial in the republic of Belarus. JAMA, 285, 413-420.

7.      Kroeger, M., & Smith, L. (2004). Impact of birthing practices on breastfeeding: Protecting the mother and baby continuum. Boston: Jones and Bartlett.

8.      Lauer JA, Betran AP, Barros AJ, de Onis M. (2006). Deaths and years of life lost due to suboptimal breast-feeding among children in the developing world: a global ecological risk assessment. Public Health Nutr, 9(6):673-85.

9.      Matthiesen, A., Ranjo, A., Nissen, E., & Uvnas-Moberg, K. (2001). Post-partum maternal ออกซิโตซิน release by newborns: Effects of infant hand massage and sucking. Birth, 28, 13-19.

 

10. Sobhy, S. M., NA. (2004). The effect of earl initiation of breastfeeding on the amount of vaginal blood loss during the fourth stage of labor. Egypt Public Health Association, 79(1-2), 1-12.

11. The Academy of Breastfeeding Medicine Protocol Committee. (2003). Protocol #5: Peripartum breastfeeding management for the healthy mother and infant at term. Retrieved May 1, 2007, from www.bfmed.org

12. Vaidya, K., Sharma, A., & Dhungel, S. (2005). Effect of early mother-baby close contact over the duration of exclusive breastfeeding. Nepal Medical College Journal, 7(2), 138-140.

13. Widstrom, A., Ransjo-Arvidson, A.-B., Christensson, K., & et al. (1987). Gastric suction in healthy newborn infants: Effects on circulation and developing feeding behaviour. Acta Paediatr, 76, 566-572.

 

 

 

 

Policies

Breastfeeding protocols: www.bfmed.org

BFHI & revisions: www.unicef.org/nutrition/index_24850.html

Global Strategy for Infant and Young Child Feeding: www.who.int/child-adolescent-health/publications/pubnutrition.htm

Low-birth weight babies: www.who.int/reproductive-health/publications/kmc/text.pdf and www.who.int/child-adolescent-health/New_Publications/NUTRITION/ISBN_92_4_159509_4.pdf

 

Labour and Birthing

Midwifery: www.internationalmidwives.org

Doula: www.dona.org

Maternity Services: www.motherfriendly.org

 

Protecting Breastfeeding

Code: www.ibfan.org

 

Supporting Breastfeeding

Lactation Consultant: www.ilca.org

Mother Support: www.lalecheleague.org

 

Acknowledgements

 

Written by: Arun Gupta. Edited by: Sallie Page-Goertz and Radha Holla Bhar. Many thanks to reviewers: Alice Barbiere, Elaine Petitat-Cote, Felicity Savage, Fernando Vallone, Lida Lhotska, Liew Mun Tip, Linda Parry, Luann Martin, Michael Latham, Miriam Labbok, Nicette Jukelevics, Pamela Dunne, Pamela Morrison, Pauline Kisanga, Rebecca Magalhães, Nutrition Section UNICEF, and Departments of Child and Adolescent Health and Development (CAH) and Nutrition for Health and Development (NHD) at World Health Organization.

Production: Liew Mun Tip and Adrian Cheah

.

This project is funded by the Dutch Ministry of Foreign Affairs (DGIS).

 

WABA:องค์กรพันธมิตรโลกเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  เป็นเครือข่ายบุคคลและองค์กรระดับสากลที่รณรงค์เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการการป้องกัน ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั่วโลก ตามคำประกาศ  Innocenti Declarations ที่กล่าวถึง สิบห่วงโซ่เพื่อการปกป้องเด็กอันเป็นอนาคต และ คู่มือการให้อาหารทารกและเด็กขององค์การอนามัย โดยมีพันธมิตรที่สำคัญคือ International Baby Food Action Network (IBFAN), La Leche League International (LLLI), International Lactation Consultant Association (ILCA), Wellstart International and Academy of Breastfeeding Medicine (ABM)  WABA มีสถานะเป็นที่ปรึกษาขององค์กรยูนิเซฟ และเป็นองค์กรเอกชนที่มีสถานะที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC)

 

WABA ไม่รับการสนับสนุนใดๆ ทั้งสิ้นจากบริษัทผู้ผลิตอาหารทดแทนนมแม่ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และอาหารเสริมสำหรับทารก  WABA  ใคร่เรียกร้องขอให้ผู้ร่วมกิจกรรมสัปดาห์นมแม่โลกทุกท่านเคารพและยึดมั่นในจุดยืนทางจริยธรรมนี้ด้วย 


WABA Secretariat

P O Box 1200

10850 Penang, Malaysia

Fax: 60-4-657 2655

waba@streamyx.com

www.waba.org.my

www.worldbreastfeedingweek.org


 

สนับสนุนการแปลโดย WABA  

 

เผยแพร่และประชาสัมพันธ์โดย

 

ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย  

มูลนิธิส่งเสริมการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แห่งประเทศไทย

 




สัปดาห์นมแม่โลก World Breastfeeding Week

WBW 1992 ; Baby Friendly Hospital
WBW 2011
WBW2010:Just 10 Steps :Baby Freindly Way
WBW2009
Mother Support :Going For The Gold -WBW 2008 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
เริ่มแรกอย่างมีพลัง กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด Breastfeeding in first one hour save one million babies.