dot dot


Facebook page
BAMBI
WBW
สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
ศูนย์นมแม่แห้งประเทศไทย
Birth a Baby by Silk Laef


หลีกเลี่ยงการตัดฝีเย็บ (Avoid epistomy)

การตัดผิวหนัง และกล้ามเนื้อรอบ ๆ ปากช่องคลอด เพื่อที่จะให้ทารกคลอดออกมาได้ เป็นวิธีปฎิบัติที่ทำกันอยู่เป็นกิจวัตรใรหลายประเทศ โดยเฉพาะกับการคลอดครั้งแรก ผดุงครรภ์ และแพทย์ให้เหตุผลของการตัดฝีเย็บว่า เป็นการป้องกันการฉีกขาดบริเวณหูรูดทวารหนัก (anal sphincter) และช่องทวารหนัก (rectum) ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเย็บแผล และแผลฝีเย็บหายเร็วขึ้นมากกว่าแผลฉีกขาดตามธรรมชาติ การตัดฝีเย็บนั้นมีความเสี่ยงอยู่หลายด้าน หลักฐานต่าง ๆ ได้ชี้แนะว่าการตัดฝีเย็บเป็นกิจวัตร ไม่ได้ช่วยลดแผลบริเวณฝีเย็บ หรือทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีหลักฐานชี้แนะอย่างชัดเจนว่า ควรจำกัดการตัดฝีเย็บ นอกเหนือจากนี้ยังทำให้พนักงานกิจวัตรห้องคลอดที่เป็นคนตัดฝีเย็บมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัส HIV อีกด้วย มีการเจ็บเป็นระยะเวลานาน

ผลดี

ในปัจจุบันไม่มีหลักฐานเด่นชัดเกี่ยวกับผลดีของการตัดฝีเย็บเป็นกิจวัตร แต่ก็อาจมีการใช้ในสถานการณ์ดังต่อไปนี้

• เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฉีกขาดในระดับที่สาม

• ถ้าทารกในครรภ์อยู่ในภาวะเครียด (distress)

• ถ้าการคลอดคืบหน้าไปอย่างช้ามาก

ผลเสีย

• การมีแผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บ (perineal trauma)

• มีอาการแทรกซ้อน (การติดเชื้อ) หลังคลอด

• การเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ (dyspareunia)

• ถ้าคุณแม่ไม่สามารรถนั่งท่าลำตัวตั้งขึ้นได้ ทำให้เริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ช้าลง

• มีความเสี่ยงโดยตรงต่อการติดเชื้อไวรัส HIV

References:

1. Carroll G, Belizan J. Epsbtomy for vaginal birth (Cochrane Review), in: The Cochrane Library, Issue 2, 2001. Oxford: Update Software.

2. Department of Reproductive Health and Research. WHO (1999), Care in Normal Birth: a practical guide. Geneva: World Health Organization.

3. World Health Organization. The WHO Reproductive Library, Issue 4. 2001. WHO/RHR/HRP/RHL/3/00. Oxford: Update Software,




การคลอดวิถีธรรมชาติ - Active Birth

การคลอดวิถีธรรมชาติ ดีกับตัวคุณแม่และคุณลูกอย่างไร article
การดูแลเพื่อช่วยให้แม่คลอดได้เอง
ทำอะไรได้อีกบ้างเมื่อเริ่มเจ็บครรภ์คลอด
การคลอดวิถีธรรมชาติ
ทำอย่างไรเราจึงะคลอดวิถีธรรมชาติได้
การเคลื่อนไหวในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Mobility during labour )
สรีระร่างกายแม่ กับการเจ็บครรภ์คลอด
คลอดในน้ำ ช่วยให้ลูกรักสัมผัสธรรมชาติตั้งแต่แรกคลอด
เด็กที่คลอดธรรมชาติ ท้องไม่เสียง่ายๆ article
การใช้ท่าต่างๆระหว่างการคลอด ( Position during birth )
วิถึธรรมชาติเพื่อการคลอดธรรมชาติ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลการคลอด วิถีธรรมชาติ” article
การรับประทานอาหารและดื่มน้ำในช่วงเจ็บครรภ์คลอด (Fluids and food during labour)
สนับสนุนการมีคนอยู่เป็นเพื่อนในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Encourage companionship during labour )
การใช้แม็กนีเซียม วัลเฟตในภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ ( Magnesium sulfate for treaing eclampsia)
การใช้ออกซิโตซินในระยะที่ 3 ของการคลอด ( Oxytocin in the third stage of labour )
กลยุทธในการลดการถ่านทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูก ( Stratrgies to reduce mother-to child transmition of HIV)
การลดการเจาะถุงน้ำคร่ำเร็วเกินไป ( Reduce use of early amniotomy )
ดูดน้ำมเมื่อกจากปาก คอ และจมูกของทารกแรกเกิดที่มีขี้เทาในน้ำตร่ำเท่านั้น ( Reserve suctioning for babies with meconium present)
ไม่จำเป็นต้องมีการสวนอุจจาระเสมอไป (Enema is not always necessary)
หยุดการโกนขนบริเวณหัวหน่าว (Stop pubic shaving)
คลอดในนำ แบบธรรมชาติ
การคลอดไม่ใช่การเจ็บป่วย article
การดูแลคลอดแบบสนับสนุนให้แม่คลอดได้เอง article
ก่อนคลอดควรรู้อะไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
เริ่มแรกอย่างมีพลัง กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด Breastfeeding in first one hour save one million babies.