dot dot


Facebook page
BAMBI
WBW
สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
ศูนย์นมแม่แห้งประเทศไทย
Birth a Baby by Silk Laef


การคลอดวิถีธรรมชาติ

การคลอดวิถีธรรมชาติ ดีกับตัวคุณแม่และลูกหรือไม่

ดีมากเพราะว่า

- ลูกคุณแม่จะเกิดมาเมื่อเขาได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ และมีความพร้อมที่จะคลอด
- การเจ็บครรภ์ที่เริ่มตามธรรมชาติจะค่อยเป็นค่อยไป ไม่ค่อยรุนแรง และจะเจ็บน้อยกว่าการเจ็บที่เกิดจากการเร่งคลอด
- ยาที่คุณแม่ได้รับในช่วงเจ็บครรภ์และคลอดสามารถผ่านจากตัวคุณแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ ซึ่งยาบางชนิดจะมีผลต่อการหายใจและพฤติกรรมของลูกหลังคลอด
- การที่ลูกได้คลอดออกมาผ่านทางช่องคลอดโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอใดๆ จะลดการกระทบกระเทือนทางร่างกายและจิตใจของทั้งคุณแม่และลูก
- เมื่อทั้งคุณแม่และลูกไม่ได้รับยา หรือการกระทำแทรงแงอื่นๆ คุณแม่กับลูกก็พร้อมที่จะทักทายกันตั้งแต่ตอนแรกเกิดแล้ว
- คุณแม่ที่คลอดวิถีธรรมชาติจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าคุณแม่ที่ได้รับยาในช่วงเจ็บครรภ์และคุณแม่ที่ผ่าตัดคลอด
- ลูกของคุณแม่ที่ไม่ได้รับยาในช่วงเจ็บครรภ์จะมีความตื่นตัวและพร้อมที่จะดูดนมแม่ได้ทันทีหลังคลอด
- คุณแม่ที่คลอดวิถีธรรมชาติจะรู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถ "ฉันทำได้" ตรงนี้เองจะทำให้คุณแม่มีพลัง สามารถอดทน และแก้ไขอุปสรรค์ทั้งหลายไปได้

ทำอย่างไรเราจุงจะคลอดวิถีธรรมชาติได้

หาข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดย

- พูดคุยกับคุณแม่คนอื่นที่เคยคลอดวิถีธรรมชาติ
- หาหนังสือหรือนิตยสารที่มีข้อเขียนเกี่ยวกับการคลอดวิถีธรรมชาติ
- บอกผู้ดูแลครรภ์ของคุณแม่ว่า คุณแม่มีความต้องการที่จะคลอดวิถีธรรมชาติ และสอบถามว่า เขาสามารถช่วยให้คุณแม่ทำเช่นนี้ได้อย่างไร
- เมื่อมีโอกาส ควรเข้ารับฟังการอบรมในเรื่องการเตรียมตัวเพื่อการคลอด คุณแม่ควรสอบถามจากโรงพยาบาลที่ฝากครรภ์ว่า ที่ไหนมีการอบรมทางด้านนี้

เอาใจใส่ดูแลตัวเองด้วย

- รับประทานอาหารที่มีคุณค่า และในสัดส่วนที่พอเหมาะในขณะตั้งครรภ์ ถามผู้ดูแลครรภ์ของคุณแม่เกี่ยวกับข้อมูลทางโภชนาการ เพื่อจะได้เลือกอาหารที่ดีที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ และสำหรับคุณแม่เองด้วย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพอประมาณ ควรหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอด้วย
- ตรวจสุขภาพครรภ์อย่างสม่ำเสมอ (ตามนัด)
- อย่าใส่ใจในเรื่องเล่า ข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับการคลอด ซึ่งอาจก่อให้เกิดความกังวลใจโดยเกินเหตุ ถ้าสงสัยควรปรึกษากับผดุงครรภ์หรือแพทย์ที่สนับสนุนการคลอดโดยวิถีธรรมชาติ




การคลอดวิถีธรรมชาติ - Active Birth

การคลอดวิถีธรรมชาติ ดีกับตัวคุณแม่และคุณลูกอย่างไร article
การดูแลเพื่อช่วยให้แม่คลอดได้เอง
ทำอะไรได้อีกบ้างเมื่อเริ่มเจ็บครรภ์คลอด
ทำอย่างไรเราจึงะคลอดวิถีธรรมชาติได้
การเคลื่อนไหวในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Mobility during labour )
สรีระร่างกายแม่ กับการเจ็บครรภ์คลอด
คลอดในน้ำ ช่วยให้ลูกรักสัมผัสธรรมชาติตั้งแต่แรกคลอด
เด็กที่คลอดธรรมชาติ ท้องไม่เสียง่ายๆ article
การใช้ท่าต่างๆระหว่างการคลอด ( Position during birth )
วิถึธรรมชาติเพื่อการคลอดธรรมชาติ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลการคลอด วิถีธรรมชาติ” article
การรับประทานอาหารและดื่มน้ำในช่วงเจ็บครรภ์คลอด (Fluids and food during labour)
สนับสนุนการมีคนอยู่เป็นเพื่อนในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Encourage companionship during labour )
การใช้แม็กนีเซียม วัลเฟตในภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ ( Magnesium sulfate for treaing eclampsia)
การใช้ออกซิโตซินในระยะที่ 3 ของการคลอด ( Oxytocin in the third stage of labour )
กลยุทธในการลดการถ่านทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูก ( Stratrgies to reduce mother-to child transmition of HIV)
การลดการเจาะถุงน้ำคร่ำเร็วเกินไป ( Reduce use of early amniotomy )
ดูดน้ำมเมื่อกจากปาก คอ และจมูกของทารกแรกเกิดที่มีขี้เทาในน้ำตร่ำเท่านั้น ( Reserve suctioning for babies with meconium present)
ไม่จำเป็นต้องมีการสวนอุจจาระเสมอไป (Enema is not always necessary)
หยุดการโกนขนบริเวณหัวหน่าว (Stop pubic shaving)
หลีกเลี่ยงการตัดฝีเย็บ (Avoid epistomy)
คลอดในนำ แบบธรรมชาติ
การคลอดไม่ใช่การเจ็บป่วย article
การดูแลคลอดแบบสนับสนุนให้แม่คลอดได้เอง article
ก่อนคลอดควรรู้อะไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
เริ่มแรกอย่างมีพลัง กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด Breastfeeding in first one hour save one million babies.