dot dot


Facebook page
BAMBI
WBW
สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
ศูนย์นมแม่แห้งประเทศไทย
Birth a Baby by Silk Laef


การดูแลเพื่อช่วยให้แม่คลอดได้เอง

"การดูแลเพื่อช่วยให้แม่คลอดได้เอง" จะช่วยให้คุณแม่สามารถคลอดลูกได้โดยวิถีธรรมชาติได้ เพราะจะสามารถ

  • ช่วยเหลือคุณแม่ในการใช้สัญชาตญาณ เพื่อดูแลเอาใจใส่ร่างกายของตัวเองในการคลอด
  • ป้องกันและไม่เข้ามารบกวนหรือแทรกแซงกับกระบวนการลอดตามธรรมชาติ
  • ปฏิบัติกับคุณแม่และลูกแยกเป็นรายบุคคล
  • ไม่มีการกระทำแทรกแซงใดๆ ยกเว้นเมื่อมีเหตุผลทางการแพทย์
  • สนับสนุนให้คุณแม่มีคนอยู่เป็นเพื่อนในช่วงเจ็บครรภ์และคลอด ซึ่งอาจเป็นสามี เพื่อน ญาติ หรือบุคคลใกล้ชิด
  • ให้ความเคารพและเชื่อถือในวิถีธรรมชาติ
  • สนับสนุนการใช้ท่าลำตัวตั้งขึ้นในช่วงเจ็บครรภ์และคลอด

ประโยชน์ของการใช้ท่าลำตัวตั้งขึ้นในช่วงเจ็บครรภ์และคลอด

  • ช่วยให้ลูกในครรภ์อยู่ในท่าเตรียมตัวคลอดที่เหมาะสม
  • ทำให้ช่องทางคลอดที่ลูกต้องผ่านกว้างที่สุด เพราะกระดูกเชิงกรานจะสามารถขยายได้อย่างเต็มที่
  • แรงโน้มถ่วงของโลกจะช่วยเพิ่มแรงกดของศีรษะของลูกในครรภ์ที่บริเวณปากมดลูก และช่วยทำให้ปากมดลูกเปิดขยายมากขึ้น
  • ลูกของคุณแม่จะได้รับออกซิเจนตลอดช่วงเจ็บครรภ์จนถึงคลอด เพราะน้ำหนักของลูกและมดลูกจะไม่กดทับเส้นเลือดใหญ่
  • คุณแม่จะรู้สึกสบายขึ้นด้วย เพราะแรงกดทับที่หลังและก้นกบจะน้อยลง
  • ช่วยให้คุณแม่สามารถควบคุมการเจ็บครรภ์ได้ดีขึ้น คุณแม่อาจต้องปรับเปลี่ยนท่าต่างๆ หลายครั้งเพื่อจะได้เพิ่มความสบายตลอดช่วงเจ็บครรภ์และคลอด

 

ท่าลำตัวตั้งขึ้นในช่วงเจ็บครรภ์

ท่ายืนและเดิน

ท่านี้สามารถช่วยให้คุณแม่สบายใจขึ้น โดยเฉพาะในระยะแรกของการเจ็บครรภ์ ท่านี้จะช่วยให้ลูกในครรภ์อยู่ในท่าเตรียมตัวคลอดที่เหมาะสม และช่วยทำให้ปากมดลูกเปิดเร็วขึ้น

ท่านั่งพักโน้มตัวพักมาข้างหน้า

ท่านี้สามารถใช้ได้ตลอดช่วงเจ็บครรภ์ และยังช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายได้มากที่สุด โดยเฉพาะช่วงที่มดลูกบีบตัว ท่านี้ยังสามารถทำให้คุณแม่ได้พักผ่อนระหว่างเจ็บครรภ์ด้วย ท่านี้เป็นท่าที่เหมาะสมมากที่จะให้สามี ญาติ เพื่อน หรือพยาบาลนวดหลังให้คุณแม่ได้อีกด้วย

ท่าคุกเข่าและโน้มตัวมาข้างหน้า

ท่านี้เป็นท่าที่สบายมากอีกท่าหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้ได้ถึงแม้จะอยู่ในระยะสุดท้ายของการเจ็บครรภ์ คุณแม่ต้องนำหมอนมาหนุนเยอะๆ เพื่อจะได้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ และหลับได้ในช่วงระหว่างการหดรัดตัวของมดลูก

 

ท่าลำตัวตั้งขึ้นในช่วงคลอดลูก

ท่านั่งยองๆ

เป็นท่าที่ทำให้ด้านในของกระดูกเชิงกรานขยายมากที่สุด เพื่อให้ลูกคลอดผ่านง่าย เพราะแรงโน้มถ่วงของโลก ท่านี้สามารถช่วยลดโอกาสที่จะโดนตัดฝีเย็บอีกด้วย

ท่าคุกเข่า

ท่านี้ทำให้คุณแม่สบายที่สุด เพราะทำให้แรงกดที่ขาของคุณแม่ลดลง การโน้มตัวพักมาข้างหน้ามากๆ จะช่วยทำให้การเจ็บครรภ์ห่างขึ้นในกรณีลูกจะคลอดออกมาเร็วเกินไป




การคลอดวิถีธรรมชาติ - Active Birth

การคลอดวิถีธรรมชาติ ดีกับตัวคุณแม่และคุณลูกอย่างไร article
ทำอะไรได้อีกบ้างเมื่อเริ่มเจ็บครรภ์คลอด
การคลอดวิถีธรรมชาติ
ทำอย่างไรเราจึงะคลอดวิถีธรรมชาติได้
การเคลื่อนไหวในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Mobility during labour )
สรีระร่างกายแม่ กับการเจ็บครรภ์คลอด
คลอดในน้ำ ช่วยให้ลูกรักสัมผัสธรรมชาติตั้งแต่แรกคลอด
เด็กที่คลอดธรรมชาติ ท้องไม่เสียง่ายๆ article
การใช้ท่าต่างๆระหว่างการคลอด ( Position during birth )
วิถึธรรมชาติเพื่อการคลอดธรรมชาติ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลการคลอด วิถีธรรมชาติ” article
การรับประทานอาหารและดื่มน้ำในช่วงเจ็บครรภ์คลอด (Fluids and food during labour)
สนับสนุนการมีคนอยู่เป็นเพื่อนในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Encourage companionship during labour )
การใช้แม็กนีเซียม วัลเฟตในภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ ( Magnesium sulfate for treaing eclampsia)
การใช้ออกซิโตซินในระยะที่ 3 ของการคลอด ( Oxytocin in the third stage of labour )
กลยุทธในการลดการถ่านทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูก ( Stratrgies to reduce mother-to child transmition of HIV)
การลดการเจาะถุงน้ำคร่ำเร็วเกินไป ( Reduce use of early amniotomy )
ดูดน้ำมเมื่อกจากปาก คอ และจมูกของทารกแรกเกิดที่มีขี้เทาในน้ำตร่ำเท่านั้น ( Reserve suctioning for babies with meconium present)
ไม่จำเป็นต้องมีการสวนอุจจาระเสมอไป (Enema is not always necessary)
หยุดการโกนขนบริเวณหัวหน่าว (Stop pubic shaving)
หลีกเลี่ยงการตัดฝีเย็บ (Avoid epistomy)
คลอดในนำ แบบธรรมชาติ
การคลอดไม่ใช่การเจ็บป่วย article
การดูแลคลอดแบบสนับสนุนให้แม่คลอดได้เอง article
ก่อนคลอดควรรู้อะไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
เริ่มแรกอย่างมีพลัง กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด Breastfeeding in first one hour save one million babies.