ReadyPlanet.com
dot dot


Facebook page
BAMBI
WBW
สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
ศูนย์นมแม่แห้งประเทศไทย
Birth a Baby by Silk Laef


ทำอะไรได้อีกบ้างเมื่อเริ่มเจ็บครรภ์คลอด

จะทำอะไรได้อีกบ้างเมื่อเริ่มเจ็บครรภ์คลอด

- ควรพักอยู่ที่บ้านก่อนในระยะเวลานานเท่าที่คุณแม่มีความสุขและพอใจที่จะอยู่ที่บ้าน ไม่ต้องรีบมาโรงพยาบาลตั้งแต่เริ่มเจ็บครั้งแรก
- ควรหาคนมาอยู่เป็นเพื่อน เช่น สามี ญาติ หรือเพื่อนสนิท
- ขอให้คนที่มาอยู่ด้วยนวดหลังให้
- ใช้วิธีประคบด้วยความร้อนและความเย็น เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด
- ดื่มน้ำตามความต้องการของร่างกาย
- อมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ และทาริมฝีปากด้วยวาสลีนเพื่อกันริมฝีปากแห้ง
- ทานอาหารอ่อนๆ ได้เมื่อหิว
- เดินไปมา การที่คุณแม่อยู่ในท่าลำตัวตั้งจะช่วยให้มดลูกบีบตัวได้ดี และศีรษะของลูกสามารถเคลื่อนต่ำลงมาในต่ำแหน่งพร้อมคลอดได้ ท่านี้จะทำให้เจ็บน้อยลงด้วย
- ในช่วงระหว่างการหดรัดตัวของมดลูก ควรพักอยู่ในท่าลำตัวตั้งขึ้น การใช้หมอนหนุนเยอะๆ หรือพิงบนตัวของบุคคลที่มาอยู่เป็นเพื่อน จะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่
- พยายามอย่าเกร็งตัวทุกครั้งที่มดลูกมีการหดรัดตัว
- อย่ากลั้นหายใจเมื่อเจ็บครรภ์ ควรหายใจให้ช้าๆ ตามความสบายของตัวเอง
- ทุกครั้งที่มดลูกมีการหดรัดตัวควรคิดเสมอว่า ความเจ็บหมดไปอีกทีแล้ว และใกล้จะได้เห็นหน้าลูกแล้ว
- อย่าลืมถ่ายปัสสาวะในช่วงเจ็บครรภ์ เพราะจะช่วยให้คุณแม่สบายขึ้น และช่วยให้ศีรษะของลูกเคลื่อนต่ำลงมาในเชิงกรานมากขึ้น
- ในช่วงเดินทางไปคลอดที่โรงพยาบาลหรือคลีนิก พยายามอยู่ในท่าลำตัวตั้งขึ้น เพราะถ้านอนลง (หลังขนานกับพื้น) จะทำให้คุณแม่เจ็บครรภ์มากขึ้น และยากที่จะควบคุมตัวเอง

เมื่อไปถึงโรงพยาบาลหรือคลีนิก ควรทำอย่างไร

- ขอให้มีคน (บุคคลใกล้ชิด) อยู่กับคุณแม่คลอดเวลา
- พยายามเดินไปมาให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ดื่มน้ำบ่อยๆ
- ถ้าคุณแม่ถ่ายอุจจาระมาแล้ว ควรบอกพยาบาลว่าไม่จำเป็นต้อง สวนอุจจาระ
- ขอไม่โกนขนบริเวณหัวหน่าว เพราะนอกจากคุณแม่จะรู้สึกอายและไม่สบายตัว คุณแม่จะรู้สึกคันมากเวลาขนเริ่มขึ้นอีกด้วย
- คุณแม่อาจนั่งพักบนเก้าอี้โดยใช้ท่าต่างๆ
- ถ้าคุณแม่ต้องอยู่บนเตียง พยายามอย่านอนหงาย ให้อยู่ในท่าลำตัวตั้งขึ้น เพราะจะช่วยให้คุณแม่เจ็บปวดน้อยลง
- เมื่ออยู่ในช่วงที่ต้องเบ่ง ควรสังเกตว่าร่างกายพร้อมที่จะเบ่งหรือยัง ขณะเบ่งอย่ากลั้นหายใจนาน เพราะลูกกำลังรอออกซิเจนจากการหายใจของคุณอยู่ 




การคลอดวิถีธรรมชาติ - Active Birth

การคลอดวิถีธรรมชาติ ดีกับตัวคุณแม่และคุณลูกอย่างไร article
การดูแลเพื่อช่วยให้แม่คลอดได้เอง
การคลอดวิถีธรรมชาติ
ทำอย่างไรเราจึงะคลอดวิถีธรรมชาติได้
การเคลื่อนไหวในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Mobility during labour )
สรีระร่างกายแม่ กับการเจ็บครรภ์คลอด
คลอดในน้ำ ช่วยให้ลูกรักสัมผัสธรรมชาติตั้งแต่แรกคลอด
เด็กที่คลอดธรรมชาติ ท้องไม่เสียง่ายๆ article
การใช้ท่าต่างๆระหว่างการคลอด ( Position during birth )
วิถึธรรมชาติเพื่อการคลอดธรรมชาติ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลการคลอด วิถีธรรมชาติ” article
การรับประทานอาหารและดื่มน้ำในช่วงเจ็บครรภ์คลอด (Fluids and food during labour)
สนับสนุนการมีคนอยู่เป็นเพื่อนในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Encourage companionship during labour )
การใช้แม็กนีเซียม วัลเฟตในภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ ( Magnesium sulfate for treaing eclampsia)
การใช้ออกซิโตซินในระยะที่ 3 ของการคลอด ( Oxytocin in the third stage of labour )
กลยุทธในการลดการถ่านทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูก ( Stratrgies to reduce mother-to child transmition of HIV)
การลดการเจาะถุงน้ำคร่ำเร็วเกินไป ( Reduce use of early amniotomy )
ดูดน้ำมเมื่อกจากปาก คอ และจมูกของทารกแรกเกิดที่มีขี้เทาในน้ำตร่ำเท่านั้น ( Reserve suctioning for babies with meconium present)
ไม่จำเป็นต้องมีการสวนอุจจาระเสมอไป (Enema is not always necessary)
หยุดการโกนขนบริเวณหัวหน่าว (Stop pubic shaving)
หลีกเลี่ยงการตัดฝีเย็บ (Avoid epistomy)
คลอดในนำ แบบธรรมชาติ
การคลอดไม่ใช่การเจ็บป่วย article
การดูแลคลอดแบบสนับสนุนให้แม่คลอดได้เอง article
ก่อนคลอดควรรู้อะไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
เริ่มแรกอย่างมีพลัง กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด Breastfeeding in first one hour save one million babies.