มองไปทางไหนก็มีการคลอดหลายแบบไม่ว่าจะเป็นคลอดเอง ผ่าคลอด ใช้เครื่องมือช่วยคลอดล้วนแต่ทำให้หวั่นไหวไม่ใช่เล่นเลยนะคะ
วันนี้ดิฉันจะชวนคุยกันก่อนค่ะว่าถ้าเราอยากคลอดเองจะเป็นไปได้ไหม
หลายคนคงบอกว่า โอ้ยเรื่องเล็กถึงเวลาก็จะเบ่งพรวดเดียว บ้างก็บอกว่า โอยไม่ไหวแล้วช่วยหนูหน่อย
ถ้าถามกันตามตัวเลขก็ต้องบอกว่าองค์การอนามัยโลกบอกไว้ว่า 85% ของผู้หญิงท้องสามารถคลอดได้เองแต่พอเรามาดูกันจริงๆ
ในหลายประเทศรวมทั้งบ้านเราด้วยแล้ว
ตัวเลขคนคลอดเองได้กลับไม่เป็นอย่างที่ว่ากันในสหรัฐฯการผ่าตัดคลอดอยู่ระหว่าง 28-29% ส่วนในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย กลับอยู่ที่ประมาณ 15%
เราเป็นแม่กลุ่มไหน
ถ้าเราไปถามชาวบ้านที่เค้าไม่สนใจอะไรมากก็จะได้รับคำตอบว่าก็ไม่ต้องทำอะไรแค่ระวังอย่าให้หกล้ม
กินให้อิ่ม นอนให้หลับถึงเวลาก็จะคลอดได้เอง กลุ่มนี้คือกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบต่อวิวัฒนาการของเทคโนโลยีจนเสียความมั่นใจในตัวเองก็ไม่รู้สึกว่าเป็นสิ่งแปลกหรือต้องกังวลเพราะเห็นเป็นสิ่งปกติ
แต่ถ้าไปดูในอีกกลุ่มจะพบว่ายิ่งแม่มีความรู้ก็จะต้องการตรวจสอบหรือพิสูจน์ข้อมูลที่ได้ว่าอะไรถูกอะไรผิดกันแน่
ดังนั้นกลุ่มนี้จะต้องการการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ การฝึกปฏิบัติเพื่อให้ทำได้จริงและมักต้องการการยืนยันว่าถูกต้องจริง
ดังนั้นสิ่งสำคัญต้องค้นหาตัวเองก่อนว่าเป็นกลุ่มไหนนะคะ
ถ้าไม่เจ็บก็ไม่คลอด
คุณแม่ควรแสวงหาข้อมูลที่ตัวเองต้องการด้วยการอ่าน อบรม พูดคุยกับเพื่อนที่มีประสบการณ์การคลอดมาแล้ว
ประเด็นที่สำคัญน่าจะเป็นความรู้สึกที่เป็นบวกกับการคลอดนะคะ
เพราะจริงแล้วหลายคนกลัวเจ็บ แต่ลืมคิดไปว่าถ้าไม่เจ็บครรภ์ก็จะไม่มีการคลอดได้เอง
แต่จะเจ็บมากน้อยขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย
และความกลัวก็มักนำมาซึ่งความเจ็บเพราะจะทำให้ขาดสติทำให้ร่างกายทำงานได้ไม่ดี
ยิ่งกลัว ยิ่งเจ็บ ยิ่งต้องใช้เวลานาน ดังนั้นคิดในทางตรงกันข้าม คิดในแง่ดีจะดีกว่าค่ะ
การที่สิ่งแวดล้อมที่เอื้อความต้องการของตัวเองหรือหากำลังใจเพื่อเป็นที่พึ่ง
แต่โดยปกติแล้วช่วงตั้งครรภ์จะเป็นช่วงที่มีความสุขที่สุดเพราะมีคนมาแวดล้อมดูแลและคอยลุ้น
ดังนั้นไม่ต้องกลัวถ้าจะมีคนคู่กายอยู่เคียงข้างยิ่งมากยิ่งดีเพราะกำลังใจดีแรงก็ดีไปด้วยนะคะ
ออกกำลังกาย
ควรส่งเสริมให้คุณแม่เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานและการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ
ในร่างกายขณะตั้งครรภ์และคลอดเพราะร่างกายของคุณแม่จะถูกเตรียมพร้อม
โดยฮอร์โมนให้มีความยืดหยุ่นได้มากกว่าปกติ
เพื่อเป็นการเปิดช่องให้ลูกคลอดได้สะดวก
เลือกการออกกำลังกายให้เหมาะกับสภาพร่างกายของคุณแม่
การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณแม่มีความคล่องตัว กินได้ดี
นอนหลับได้ง่ายถึงเวลาต้องออกแรงเบ่งจะได้ไม่ติดขัดยังไงล่ะคะ
และไม่ลืมที่จะดูแลร่างกายและจิตใจตนเองให้มีสุขภาวะที่ดี
โดยการกินอาหารที่มีประโยชน์
พักผ่อนให้เพียงพอและผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ
อันนี้สำคัญมากเพราะเราต้องการแม่ลูกที่แข็งแรง
น้ำหนักตัว
ถ้าแม่น้ำหนักตัวขึ้นมากไปในระหว่างตั้งครรภ์จะมีอีกหลายเรื่องตามมา
ไม่ว่าจะเป็น ตัวใหญ่ทั้งแม่และลูก ปัญหาโรคเบาหวานและอื่นๆ
ก็จ่อเข้าคิวกันเลยทีเดียว
แล้วที่คุณแม่ไม่ชอบมากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องลดน้ำหนักหลังคลอด
เพราะลดยากเชียวล่ะ น้ำหนักตัวเหมาะสมสำหรับการคลอดเอง
คุณแม่ควรให้น้ำหนักขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์ หรือ 1-5-5
คือ 3 เดือนแรกอาจไม่ขึ้นเลยหรือขึ้นสัก 1 กิโลกรัม 3 เดือนต่อๆ มาก็รอบละ 5
กิโลกรัมค่ะ
ฝึกการหายใจ
ฝึกควบคุมจิตใจโดยการฝึกหายใจแบบโยคะนั่นเองค่ะ
เป็ฌนอีกวิธีหนึ่งที่มีประโยชน์เพราะช่วยให้เรามีสติอยู่เสมอแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า
คนที่ไม่ได้ฝึกจะทำให้คลอดลำบากนะคะ
ยังมีอีกหลายตัวประกอบที่จะมาช่วยกันได้ค่ะ
การหายใจที่ถูกต้อง ก็คือหายใจลึกๆ ยาวๆ ไม่กลั้นหายใจ ไม่หายใจถี่ๆ
เอาแบบพอดีๆ ถ้าแม่ไม่เหนื่อลูกจะได้ออกซิเจนอย่างเต็มที่
เตรียมตัวเข้าห้องคลอด
พร้อมรับสถานการณ์ต่อไปนี้ การคลอดต้องมีการเจ็บคลอดแต่ไม่เจ็บถึงตาย
การเจ็บบอกให้รู้ว่าการคลอดกำลังดำเนินไป และความทนได้แต่ละคนอาจไม่เท่ากัน
ถ้าเป็นไปได้ลองพยายามที่จะไม่ใช้ยาเร่งคลอด ไม่ใช้ยาแก้ปวด ความกลัว ความกังวล
ความตกใจจะทำให้ความรู้สึกเจ็บมากขึ้นและลดลงได้ด้วยความเข้าใจถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ที่จริงแล้วในการคลอดไม่มีความจำเป็นที่ต้องให้น้ำเกลือระหว่างรอ ไม่โกนขน
ไม่สวนอุจจาระทุกคนกับทุกครั้งที่คลอด มีเพียงบางรายที่ต้องเตรียมแบบทำผ่าตัด
เพราะส่วนใหญ่จะสามารถคลอดได้เอง
แต่ทั้งนี้ก็คงขึ้นอยู่กับแพทย์และโรงพยาบาลที่ฝากครรภ์ด้วยค่ะ
อาจพิจารณาตามความเหมาะสมหรือปัจจัยอื่นๆ ประกอบ
เอาเป็นว่าข้อแนะนำทั้งหมดนี้คงต้องปรับให้สอดคล้อง
และควรบอกความต้องการพร้อมวางแผนการคลอดร่วมกับแพทย์ผู้ดูแลจะดีที่สุดค่ะ
บรรเทาความเครียดในห้องคลอดแบบง่ายๆ
การเดิน-เปลี่ยนท่าบ่อยๆ ลุก-นั่ง ขยับตัว
การสัมผัส เสียงเพลง กลิ่นหอม ความสงบ การนวด การประคบด้วยน้ำร้อน
ก็ช่วยบรรเทาเจ็บได้ด้วย
คนอยู่ใกล้ๆ
และกำลังใจเป็นยาแก้ปวดลดกังวลได้เป็นอย่างดีทั้งฝรั่งทั้งไทยทำวิจัยมานักต่อนักแล้วว่า
ช่วยลดการใช้ยาและลดการคลอดด้วยเครื่องหลายสิบเปอร์เซ็นต์
สำหรับครั้งนี้พอหมอปากหอมคอกับคำแนะนำในการช่วยให้คลอดง่าย
แต่ทั้งหมดนี้ที่อยากฝากไว้คือคงต้องเริ่มต้นจากการดูแลสุขภาพของตัวเอง
มุ่งมั่นตั้งใจพร้อมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้ตัวเองด้วยค่ะ
(update 28 มีนาคม 2007)
[ ที่มา.. นิตยสารดวงใจพ่อแม่ Vol.12 No.135 January 2007]