dot dot


Facebook page
BAMBI
WBW
สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
ศูนย์นมแม่แห้งประเทศไทย
Birth a Baby by Silk Laef


คลอดในน้ำ ช่วยให้ลูกรักสัมผัสธรรมชาติตั้งแต่แรกคลอด
จนถึงวันนี้จำนวนคุณแม่ที่มาใช้บริการคลอดในน้ำกับทางโรงพยาบาลมีจำนวนหลายร้อยคน สาเหตุที่ทำให้บรรดาคุณแม่หันมาสนใจการคลอดในน้ำเพิ่มขึ้นเพราะ…

              การคลอดในน้ำเป็นหนึ่งในการคลอดวิธีธรรมชาติ ซึ่งการคลอดธรรมชาติถือเป็นทางเลือกที่ดี

  • น้ำที่ใช้จะเป็นน้ำอุ่น (อุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียส) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยในการคลอดได้

  • น้ำอุ่นจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย จึงทำให้ร่างกายหลั่ง “เอนโดรฟิน” ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุขออกมามาก คุณแม่จึงสามารถต่อสู้กับความเจ็บปวดได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาช่วย

  • น้ำช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมน Oxytocin ซึ่งเป็นฮอร์ดมนธรรมชาติที่ช่วยให้มดลูกหดตัวเร็วขึ้น จึงช่วยร่นระยะเวลาตั้งแต่เจ็บท้องคลอดไปจนถึงคลอดให้สั้นลง

  • การคลอดในน้ำจะมีแรงต้านทานคอยช่วย ทำให้การฉีกขาดของช่องคลอดน้อยกว่าการคลอดธรรมชาติโดยทั่วไป

  • คุณแม่สามารถขยับตัวเพื่อให้อยู่ในท่าที่สบายที่สุดขณะคลอด ไม่จำเป็นต้องคลอดด้วยท่านอนหงายเท่านั้น


แต่การคลอดในน้ำมีข้อจำกัดสำหรับคุณแม่และทารกที่มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และไม่อยู่ในภาวะเสี่ยงเท่านั้น เรามาดูกันค่ะว่าคุณแม่กลุ่มไหนที่ไม่สามารถคลอดในน้ำได้
1. อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์
2. ตั้งครรภ์แฝด
3. มีโรคความดันโลหิตสูง
4. ป่วยด้วยโรคติดต่อต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี
5. ทารกในครรภ์มีอาการหัวใจเต้นช้ากว่าปกติเนื่องจากขาดออกซิเจน
6. ทารกในครรภ์อยู่ในท่าก้นนำ
7. ถุงน้ำคร่ำแตกเกิน 24 ชั่วโมง
8. เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด
9. มีเลือดออกมาผิดปกติ
10. มีการใช้ยาเร่งคลอดหรือได้รับยาแก้ปวดขณะรอคลอด
 
ที่มา..นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.170 September 2007

ww.clinicrak.com/messages/viewmessage.php?id=5838&maintype=บทความเกี่ยวกับเรื่องผู้หญิง...ผู้หญิง




การคลอดวิถีธรรมชาติ - Active Birth

การคลอดวิถีธรรมชาติ ดีกับตัวคุณแม่และคุณลูกอย่างไร article
การดูแลเพื่อช่วยให้แม่คลอดได้เอง
ทำอะไรได้อีกบ้างเมื่อเริ่มเจ็บครรภ์คลอด
การคลอดวิถีธรรมชาติ
ทำอย่างไรเราจึงะคลอดวิถีธรรมชาติได้
การเคลื่อนไหวในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Mobility during labour )
สรีระร่างกายแม่ กับการเจ็บครรภ์คลอด
เด็กที่คลอดธรรมชาติ ท้องไม่เสียง่ายๆ article
การใช้ท่าต่างๆระหว่างการคลอด ( Position during birth )
วิถึธรรมชาติเพื่อการคลอดธรรมชาติ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลการคลอด วิถีธรรมชาติ” article
การรับประทานอาหารและดื่มน้ำในช่วงเจ็บครรภ์คลอด (Fluids and food during labour)
สนับสนุนการมีคนอยู่เป็นเพื่อนในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Encourage companionship during labour )
การใช้แม็กนีเซียม วัลเฟตในภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ ( Magnesium sulfate for treaing eclampsia)
การใช้ออกซิโตซินในระยะที่ 3 ของการคลอด ( Oxytocin in the third stage of labour )
กลยุทธในการลดการถ่านทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูก ( Stratrgies to reduce mother-to child transmition of HIV)
การลดการเจาะถุงน้ำคร่ำเร็วเกินไป ( Reduce use of early amniotomy )
ดูดน้ำมเมื่อกจากปาก คอ และจมูกของทารกแรกเกิดที่มีขี้เทาในน้ำตร่ำเท่านั้น ( Reserve suctioning for babies with meconium present)
ไม่จำเป็นต้องมีการสวนอุจจาระเสมอไป (Enema is not always necessary)
หยุดการโกนขนบริเวณหัวหน่าว (Stop pubic shaving)
หลีกเลี่ยงการตัดฝีเย็บ (Avoid epistomy)
คลอดในนำ แบบธรรมชาติ
การคลอดไม่ใช่การเจ็บป่วย article
การดูแลคลอดแบบสนับสนุนให้แม่คลอดได้เอง article
ก่อนคลอดควรรู้อะไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
เริ่มแรกอย่างมีพลัง กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด Breastfeeding in first one hour save one million babies.