ReadyPlanet.com
dot dot


Facebook page
BAMBI
WBW
สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
ศูนย์นมแม่แห้งประเทศไทย
Birth a Baby by Silk Laef


การใช้ท่าต่างๆระหว่างการคลอด ( Position during birth )

ในระยะที่ 2 ของการคลอด คุณแม่ส่วนใหญ่จะถูกจำกัดให้นอนหงาย มีการศึกษามากมายที่เสนอแนะว่า ท่าลำตัวตั้งขึ้น (upright) จะเป็นท่าที่มีประโยชน์มากกว่าท่านอนหงาย การที่อยู่ในท่าลำตัวตั้งขึ้น จะมีความสัมพันธ์กับการลดอาการเจ็บครรภ์ ลดความอึดอัด ลดโอกาสที่จะมีการฉีกขาดในช่องคลอด และช่วยให้ทารกในครรภ์คลอดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะชอบคลอดลูกในท่าละตัวตั้งขึ้น เพราะว่ามีความเจ็บปวด และมีอาการปวดหลังน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการคลอดในท่านอนหงาย เราควรสนับสนุนให้คุณแม่ทุกคนนำท่าที่คุณแม่รู้สึกสบายที่สุดมาใช้ในตอนคลอด และควรหลีกเลี่ยงการนอนหงายเป็นระยะเวลานาน เจ้าหน้าที่ในห้องคลอดต้องทำความคุ้นเคยกับท่าต่าง ๆ ที่ควรใช้ในการคลอด และมีความตั้งใจที่จะดูแลคุณแม่ที่ต้องการใช้ท่าลำตัวตั้งขึ้นหรือท่านั่งยอง ๆ

ผลดี

• ลดความอึดอัดเมื่อลูกเริ่มเลื่อนตำแหน่งลงมา

• ลดอาการเจ็บครรภ์

• ลดโอกาสที่จะมีการฉีกขาดบริเวณฝีเย็บและในช่องคลอด

• อาจจะลดระยะเวลาในการเจ็บครรภ์ได้

• ช่วยให้คะแนนแอพการ์ (Apgar) ของทารกดีขึ้น

• ช่วยลดโอกาสที่หัวใจของทารกจะเต้นผิดปกติ

ผลเสีย

• การคลอดในท่าลำตัวตั้งขึ้น อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียเลือดบ้าง

• อาตจะเพิ่มความเสี่ยงของการฉีกขาดบริเวณแคมช่องคลอด

References:

1.Gupta JK. Nikodem VC. Woman’s position second stage of labour (Cochrane REVIEW> IN: The Cochrane Library. Issue 2, 2001.

2. Department of Reproductive Health and Research. WHO (1999). Care in Nomal Birth: a practical guide. Geneva: World Health Organization.

3. World Health Organization. The WHO Reproductive Library. Issue 4, 2001. WHO/RHR/HRP/RHL/3/00. Oxford: update Software.




การคลอดวิถีธรรมชาติ - Active Birth

การคลอดวิถีธรรมชาติ ดีกับตัวคุณแม่และคุณลูกอย่างไร article
การดูแลเพื่อช่วยให้แม่คลอดได้เอง
ทำอะไรได้อีกบ้างเมื่อเริ่มเจ็บครรภ์คลอด
การคลอดวิถีธรรมชาติ
ทำอย่างไรเราจึงะคลอดวิถีธรรมชาติได้
การเคลื่อนไหวในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Mobility during labour )
สรีระร่างกายแม่ กับการเจ็บครรภ์คลอด
คลอดในน้ำ ช่วยให้ลูกรักสัมผัสธรรมชาติตั้งแต่แรกคลอด
เด็กที่คลอดธรรมชาติ ท้องไม่เสียง่ายๆ article
วิถึธรรมชาติเพื่อการคลอดธรรมชาติ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลการคลอด วิถีธรรมชาติ” article
การรับประทานอาหารและดื่มน้ำในช่วงเจ็บครรภ์คลอด (Fluids and food during labour)
สนับสนุนการมีคนอยู่เป็นเพื่อนในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Encourage companionship during labour )
การใช้แม็กนีเซียม วัลเฟตในภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ ( Magnesium sulfate for treaing eclampsia)
การใช้ออกซิโตซินในระยะที่ 3 ของการคลอด ( Oxytocin in the third stage of labour )
กลยุทธในการลดการถ่านทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูก ( Stratrgies to reduce mother-to child transmition of HIV)
การลดการเจาะถุงน้ำคร่ำเร็วเกินไป ( Reduce use of early amniotomy )
ดูดน้ำมเมื่อกจากปาก คอ และจมูกของทารกแรกเกิดที่มีขี้เทาในน้ำตร่ำเท่านั้น ( Reserve suctioning for babies with meconium present)
ไม่จำเป็นต้องมีการสวนอุจจาระเสมอไป (Enema is not always necessary)
หยุดการโกนขนบริเวณหัวหน่าว (Stop pubic shaving)
หลีกเลี่ยงการตัดฝีเย็บ (Avoid epistomy)
คลอดในนำ แบบธรรมชาติ
การคลอดไม่ใช่การเจ็บป่วย article
การดูแลคลอดแบบสนับสนุนให้แม่คลอดได้เอง article
ก่อนคลอดควรรู้อะไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
เริ่มแรกอย่างมีพลัง กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด Breastfeeding in first one hour save one million babies.