dot dot


Facebook page
BAMBI
WBW
สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
ศูนย์นมแม่แห้งประเทศไทย
Birth a Baby by Silk Laef


การรับประทานอาหารและดื่มน้ำในช่วงเจ็บครรภ์คลอด (Fluids and food during labour)

โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะแนะนำให้คุณแม่งดอาหาร และน้ำในช่วงเจ็บครรภ์คลอด เหตุผลของการแนะนำเช่นนี้คือ กลัวมีการสำลักอาหารหรือน้ำย่อยในช่วงที่คุณแม่ได้รับการดมยา การให้คำแนะนำในเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก การจำกัดน้ำและอาหารนั้น ไม่ได้รับประกันว่า กระเพาะอาหารของคุณแม่จะว่างเสมอไป จาการตรวจสอบโดยหลายวิธี สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นไปไม่ได้ที่กระเพาะอาหารจะว่าง 100% เพราะฉะนั้นการงดอาหารในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ไม่ได้ป้องกันไม่ให้มีการสำลักอาหารหรือน้ำย่อยในช่วงที่คุณแม่ได้รับการดมยา วิธีที่สามารถป้องกันได้คือ การดมยาแบบวิธีป้องกันน้ำย่อยหรืออาหารไม่ให้เข้าไปในหลอดลม (และฉีดยาชาที่ไขสันหลังเมื่อมีโอกาสใช้) เนื่องจากคุณแม่ต้องการพลังงานเยอะมากในช่วงเจ็บครรภ์คลอด เพราะอาจเจ็บเป็นเวลาหลายชั่วโมง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะให้คุณแม่รักษาพลังงานเอาไว้ การจำกัดการรับประทานอาหารและน้ำดื่มทางปากนั้น อาจทำให้คุณแม่เกิดอาการขาดน้ำอย่างมาก และเกิดการก่อตัวของสารคีโทนในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับการแก้ไขโดยการให้น้ำเกลือ คุณแม่บางคนอาจไม่ต้องการที่จะรับทานอาหารในช่วงเจ็บครรภ์คลอด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะต้องการดื่มน้ำ คุณแม่ส่วนใหญ่จะสามารถควบคุมอาหารที่จะรับประทานได้เอง และโดยสัญชาติญาณคุณแม่จะหลีกเลี่ยงอาหารหนัก ๆ เอง สำหรับการคลอดแบบธรรมดาและแบบที่มีความเสี่ยงน้อย ควนหลีกเลี่ยงการขัดขวางความต้องการของคุณแม่ที่อยากจะรับประทานอาหาร และดื่มน้ำในช่วงเจ็บครรภ์คลอด

ผลดี

• สามารถรักษา และเสริมพลังงานได้

• ไม่มีการขาดน้ำ

• จะไม่มีอาการแทรกแซงจากการขาดน้ำ และอาหาร

ผลเสีย

• ถ้ารับประทานอาหารหนัก ๆ ในช่วงเจ็บครรภ์คลอด คุณแม่อาจรู้สึกคลื่นไส้ได้

References:

1.Department of Reproductive Health and Research, WHO (1999). Care in Normal Birth guide. Geneva: World Health Organization.

2. McKay S. Matan C. Modifying the stomach contents of labouring women: why, how with what success, and at what risks? How can aspiration of vomitus in obstetrics be prevented? Birth 1988:15 (4):213-221.




การคลอดวิถีธรรมชาติ - Active Birth

การคลอดวิถีธรรมชาติ ดีกับตัวคุณแม่และคุณลูกอย่างไร article
การดูแลเพื่อช่วยให้แม่คลอดได้เอง
ทำอะไรได้อีกบ้างเมื่อเริ่มเจ็บครรภ์คลอด
การคลอดวิถีธรรมชาติ
ทำอย่างไรเราจึงะคลอดวิถีธรรมชาติได้
การเคลื่อนไหวในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Mobility during labour )
สรีระร่างกายแม่ กับการเจ็บครรภ์คลอด
คลอดในน้ำ ช่วยให้ลูกรักสัมผัสธรรมชาติตั้งแต่แรกคลอด
เด็กที่คลอดธรรมชาติ ท้องไม่เสียง่ายๆ article
การใช้ท่าต่างๆระหว่างการคลอด ( Position during birth )
วิถึธรรมชาติเพื่อการคลอดธรรมชาติ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลการคลอด วิถีธรรมชาติ” article
สนับสนุนการมีคนอยู่เป็นเพื่อนในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ( Encourage companionship during labour )
การใช้แม็กนีเซียม วัลเฟตในภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ ( Magnesium sulfate for treaing eclampsia)
การใช้ออกซิโตซินในระยะที่ 3 ของการคลอด ( Oxytocin in the third stage of labour )
กลยุทธในการลดการถ่านทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูก ( Stratrgies to reduce mother-to child transmition of HIV)
การลดการเจาะถุงน้ำคร่ำเร็วเกินไป ( Reduce use of early amniotomy )
ดูดน้ำมเมื่อกจากปาก คอ และจมูกของทารกแรกเกิดที่มีขี้เทาในน้ำตร่ำเท่านั้น ( Reserve suctioning for babies with meconium present)
ไม่จำเป็นต้องมีการสวนอุจจาระเสมอไป (Enema is not always necessary)
หยุดการโกนขนบริเวณหัวหน่าว (Stop pubic shaving)
หลีกเลี่ยงการตัดฝีเย็บ (Avoid epistomy)
คลอดในนำ แบบธรรมชาติ
การคลอดไม่ใช่การเจ็บป่วย article
การดูแลคลอดแบบสนับสนุนให้แม่คลอดได้เอง article
ก่อนคลอดควรรู้อะไร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
เริ่มแรกอย่างมีพลัง กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด Breastfeeding in first one hour save one million babies.