การตัดผิวหนัง และกล้ามเนื้อรอบ ๆ ปากช่องคลอด เพื่อที่จะให้ทารกคลอดออกมาได้ เป็นวิธีปฎิบัติที่ทำกันอยู่เป็นกิจวัตรใรหลายประเทศ โดยเฉพาะกับการคลอดครั้งแรก ผดุงครรภ์ และแพทย์ให้เหตุผลของการตัดฝีเย็บว่า เป็นการป้องกันการฉีกขาดบริเวณหูรูดทวารหนัก (anal sphincter) และช่องทวารหนัก (rectum) ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเย็บแผล และแผลฝีเย็บหายเร็วขึ้นมากกว่าแผลฉีกขาดตามธรรมชาติ การตัดฝีเย็บนั้นมีความเสี่ยงอยู่หลายด้าน หลักฐานต่าง ๆ ได้ชี้แนะว่าการตัดฝีเย็บเป็นกิจวัตร ไม่ได้ช่วยลดแผลบริเวณฝีเย็บ หรือทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีหลักฐานชี้แนะอย่างชัดเจนว่า ควรจำกัดการตัดฝีเย็บ นอกเหนือจากนี้ยังทำให้พนักงานกิจวัตรห้องคลอดที่เป็นคนตัดฝีเย็บมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัส HIV อีกด้วย มีการเจ็บเป็นระยะเวลานาน
ผลดี
ในปัจจุบันไม่มีหลักฐานเด่นชัดเกี่ยวกับผลดีของการตัดฝีเย็บเป็นกิจวัตร แต่ก็อาจมีการใช้ในสถานการณ์ดังต่อไปนี้
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฉีกขาดในระดับที่สาม
ถ้าทารกในครรภ์อยู่ในภาวะเครียด (distress)
ถ้าการคลอดคืบหน้าไปอย่างช้ามาก
ผลเสีย
การมีแผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บ (perineal trauma)
มีอาการแทรกซ้อน (การติดเชื้อ) หลังคลอด
การเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ (dyspareunia)
ถ้าคุณแม่ไม่สามารรถนั่งท่าลำตัวตั้งขึ้นได้ ทำให้เริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ช้าลง
มีความเสี่ยงโดยตรงต่อการติดเชื้อไวรัส HIV
References:
1. Carroll G, Belizan J. Epsbtomy for vaginal birth (Cochrane Review), in: The Cochrane Library, Issue 2, 2001. Oxford: Update Software.
2. Department of Reproductive Health and Research. WHO (1999), Care in Normal Birth: a practical guide. Geneva: World Health Organization.
3. World Health Organization. The WHO Reproductive Library, Issue 4. 2001. WHO/RHR/HRP/RHL/3/00. Oxford: Update Software,