สรีระร่างกายแม่ กับการเจ็บครรภ์คลอด
ในปัจจุบันนี้ เรายังไม่ทราบว่า สาเหตุที่แท้จริงของการเจ็บครรภ์คลอดคืออะไร แต่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ความเจ็บปวดในระหว่างการคลอด
1. ความรุนแรงในการหดรัดตัวของมดลูก ความเจ็บปวด เกิดจากการที่กล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดตัว ทำให้เกิดการกระตุ้นเส้นประสาทที่รับรู้ความเจ็บปวด
นอกจากนั้นความเจ็บปวด ยังเกิดจากการยืดขยายาตัวของกล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างและปากมดลูกเพื่อให้ส่วนนำของทารกผ่านลงไปสู่ช่องเชิงกราน และคลอดออกมาทางปากช่องคลอดในที่สุด
2. ขนาด รูปร่างและตำแหน่งของทารก โดยเปรียบเทียบสัมพันธ์กับกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ เช่น กรณีที่ศรีษะทารกกับเชิงกรานคุณแม่ ไม่ได้สัดส่วนกัน จะทำให้มดลูกมีการยืดขยายผิดปกติ ก็ทำให้มีอาการเจ็บปวดได้มาก
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงโน้มถ่วงของโลก การหดรัดตัวของมดลูก และท่าของคุณแม่ในขณะคลอด มีอิทธิพลต่อความรุนแรงของความเจ็บปวด
หรือกรณีที่ทารกอยู่ในท่าขวาง (Transverse lie) ซึ่งมีไหล่เป็นส่วนนำ ทำให้คลอดทางช่องคลอดเองไม่ได้ ต้องผ่าตัดออก เนื่องจากเส้นผ่านศูนย์กลางของไหล่มีขนาดใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของช่องทางคลอดมาก
3. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงโน้มถ่วงของโลก การหดรัดตัวของมดลูก และท่าของคุณแม่ในขณะคลอด มีอิทธิพลต่อความรุนแรงของความเจ็บปวด
ท่าที่เหมาะสม เช่น ท่าลำตัวตั้งขึ้น (Upright) ท่านั่งยอง (Squatting) จะได้รงโน้มถ่วงโลกช่วยดึงให้ศรีษะเด็กเคลื่อนลงดี ทำให้คลอดได้เร็วขึ้น และลดความเจ็บปวดที่เกิดจากศรีษะทารกกดบริเวณด้านหลังของอุ้งเชิงกราน ซึ่งจะทำให้ปวดมากในท่านอนราบ (Supine) หรือท่าขบนิ่ว (Lithotomy) ซึ่งเป็นท่านอนถ่างขาบนขาหยั่ง
4. ในระยะที่ 2 ของการคลอด ความเจ็บปวดเกิดจากการยืดขยาย (Stretching) ของเนื้อเยื่อภายในช่องคลอด ปากช่องคลอด และการขยายออกของเส้นเอ็นซึ่งเชื่อมข้อต่างๆ ของกระดูกบริเวณอุ้งเชิงกราน (Pelvic joints) อีกทั้งการยืดขยายของอวัยวะต่างๆ ข้างเดียว เช่น กระเพาะปัสสาวะ ก็ทำให้คุณแม่มีอาการปวดได้ด้วยเช่นเดียวกัน
5. การต่อต้าน (Resistance) หรือการหยุดยั้ง (Inhibition) อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางจิตวิทยา เช่น ความกลัว ความวิตกกังวล ความตึงเครียด สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดความตึงเครียด สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่หนุนนำใหมีการรับรู้ความเจ็บปวดในระหว่างคลอดเพิ่มขึ้นได้
ถึงตอนนี้ คุณแม่คงจะพอทราบคร่าวๆ แล้วนะครับว่า อะไรบ้างที่เพิ่มหรือลดความเจ็บปวดให้กับคุณแม่ในระหว่างเจ็บครรภ์คลอดได้ ในเรื่องวิธีการบรรเทาปวดจากการเจ็บครรภ์ ผมจะได้นำมาเล่าให้คุณแม่ฟังในตอนต่อๆ ไปนะครับ
คุณแม่ครับ !
คราวนี้ก็มาถึงเรื่องพื้นฐานเบื้องต้น เกี่ยวกับการเจ็บครรภ์คลอดที่คุณแม่ควรจะทราบไว้เนื่องจากเรื่องนี้มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับหลักการดูแลการคลอดวิถีธรรมชาติค่อนข้างมาก คุณแม่จะได้ทราบว่าที่คุณแม่กำลังจะคลอด
คุณแม่ที่เจ็บครรภ์จริง มีอาการปวดร่วมกันกับมีการหดรัดตัวของมดลูก อาการปวดนี้คล้ายคลึงกับอาการปวดประจำเดือน แต่จะปวดที่บริเวณมดลูกทั้งใบ อาการปวดทวีระดับความรุนแรง (Severity) เพิ่มขึ้น ช่วงเวลาระหว่างการปวดแต่ละครั้ง (interval) สั้นลงเรื่อยๆ เช่น จากเจ็บทุกๆ 2-3 ชั่วโมง เป็นทุกๆ 30 นาที เป็นต้น
ระยะเวลาในขณะที่มดลูกหดรัดตัวที่ทำให้ปวดแต่ละครั้ง (Duration) จะนานขึ้นเรื่อยๆ เช่น จาก 10 วินาที เป็น 20 วินาที เป็น 40 วินาที และเมื่อคุณแม่เจ็บครรภ์จริงแล้ว การคลอดจะดำเนินต่อไปจนกระทั่งทารกคลอดในที่สุดโดยไม่มีอะไรหยุดยั้งการคลอดได้
แต่ถ้าอาการเจ็บปวดไม่สม่ำเสมอ และห่างออกไปเรื่อยๆ ร่วมกับการที่มดลูกหดรัดตัวเบาๆ ไม่รุแรง และหยุดโดยไม่มีการคลอดเกิดขึ้น เราเรียกว่าการเจ็บครรภ์หลอก (False labor) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งเกิดจากการซ้อมหดรัดตัวของมดลูก (Braxton Hicks contractions) โดยปกติแล้วอาการเจ็บปวดจะน้อยไม่รุนแรง
ผมขอแนะนำคุณแม่ว่า ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บครรภ์สม่ำเสมอประมาณ 3-4 ครั้งต่อชั่วโมงก็ควรไปโรงพยาบาล เนื่องจากมีโอกาสที่จะเจ็บครรภ์จริงมากกว่าเจ็บครรภ์หลอกครับ
คุณแม่ครับ !
ในการคลอดวิถีธรรมชาติ นิยมแบ่งครรภ์คลอดออกเป็น 3 ระยะคือ
ระยะที่ 1 ของการคลอด (First stage of labor) คือระยะที่คุณแม่เริ่มเจ็บครรภ์จริง โดยที่ปากมดลูกเปิดหมด 10 ซม. เรายังสามารถแบ่งระยะนี้ออกเป็นระยะย่อยๆ ได้ 3 ระยะคือ
- ระยะย่อยที่ 1 : ระยะเจ็บครรภ์เนิ่นๆ (Early labor)
ระยะนี้นับตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จริง ปากมดลูกปิดอยู่จนถึงเปิด 4 ซม. ปากมดลูกมักจะยังหนาอยู่ แต่ก็จะเริ่มบางตัวไปอย่างช้าๆ ในระยะนี้มดลูกจะมีช่วงเวลาระหว่างการหดรัดตัวแต่ละครั้งเท่ากับ 5-30 นาที และมีระยะเวลาที่มดลูกหดตัวแต่ละครั้งเท่ากับประมาณ 15-40 วินาที
- โดยทั่วไปคุณแม่จะทำกิจกรรมได้ปกติ พูดคุยรับรู้และสนใจในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ดี แต่อาจจะหยุดทำกิจกรรมนั้นๆ เมื่อมีอาการเจ็บครรภ์จากการที่มดลูกหดรัดตัวเกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราวได้ โดยจะมีอาการปวดบีบๆ (Cramps) ทั่วไปที่บริเวณมดลูกทั้งใบ แต่ไม่รุนแรง บางครั้งอาจรู้สึกจุกหรือเสียดบริเวณท้องหรือมดลูกได้ คุณแม่บางคนอาจมีอาการปวดหลังได้
- จุดเริ่มต้นของการเจ็บครรภ์จริงเป็นสิ่งที่ค้นหาได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเราไม่สามารถจับดูว่ามดลูกมีการหดรัดตัวตั้งแต่เริ่มแรกได้ เนื่องจากคุณหมอไม่สามารถตรวจคุณแม่ได้ตลอดเวลา และเรายังไม่ทราบว่า การเจ็บครรภ์จริงนั้นเริ่มต้นได้อย่างไร และอะไรคือสาเหตุของการเจ็บครรภ์
- ในปัจจุบันนี้จึงต้องใช้วิธีถามจากคุณแม่เป็นหลักว่าเริ่มเจ็บครรภ์ตั้งแต่เมื่อไรแต่อย่างไรก็ตามต้องติดตามดูต่อไปว่า การเจ็บครรภ์นั้นดำเนินต่อไปจนกระทั่งคลอด หรือเป็นการเจ็บครรภ์หลอกซึ่งในระยะแรกๆ อาจจะวินิจฉัยแยกจากกันยากในบางครั้ง
- ระยะย่อยที่ 2 : ระยะเจ็บครรภ์ที่เร่งร้อนขึ้น (Accelerated labor) มดลูกมีการหดรัดตัวบ่อยขึ้นในระยะนี้ ประมาณทุกๆ 2-3 นาที หดตัวแต่ละครั้งนาน 45-60 วินาที และความแรงของการหดรัดตัวมากกว่าในระยะที่แล้ว ดังนั้นคุณแม่จึงรู้สึกเจ็บครรภ์มากขึ้นตามลำดับ
- ระยะนี้เริ่มตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 4-8 ซม. และปากมดลูกจะบางตัวเต็มที่แล้ว (100%) โดยร่างกายจะเริ่มสร้างและหลั่งเอนดอร์ฟินออกมา เพื่อช่วยให้คุณแม่สามารถอดทนต่อความเจ็บปวดครรภ์ที่เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งคลอดลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลกในที่สุด
- ในระยะย่อยที่ 2 นี้ พฤติกรรมของคุณแม่จะเริ่มเปลี่ยนไป เริ่มเงียบลง ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสิ่งของ แต่จะหันกลับมาสนใจตัวตนของตัวเอง (Focus inwardly) โดยเฉพาะการหดรัดตัวของมดลูก จะนั่งอยู่กับที่หลับตาลง คล้ายๆ กับคนที่กำลังนั่งสมาธิอยู่ อาการแสดงต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญญาณที่บอกเราได้เป๋นอย่างดีว่าระดับเอนดอร์ฟินในร่างกายคุณแม่นั้นเริ่มสูงขึ้น และมีระดับเพียงพอสำหรับความต้องการที่จะใช้ในการดำเนินการคลอด
- นอกจากนี้ก็ยังสามารถบอกได้ทางอ้อมว่า การทำงานของมดลูกก็น่าจะดีเช่นเดียวกันจึงทำให้ร่างกายหลั่งเอนดอร์ฟิน เพื่อให้คุณแม่สามารถต่อสู้ความเจ็บปวดที่รุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นในระยะนี้เราจึงไม่ควรรบกวนความต้องการของคุณแม่ โดยพยายามให้คุณแม่อยู่ตามลำพังกับตัวเอง
- ระยะย่อยที่ 3 : ระยะเปลี่ยนผ่าน (Transition) ในระยะนี้มดลูกจะหดรัดตัวทุกๆ ครึ่งนาทีถึงสามนาที โดยหดตัวนานครั้งละ 45-90 วินาที โดยมีความรุนแรงมากที่สุดเมื่อเทียบกับ 2 ระยะย่อยที่ผ่านมา ระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์อย่างรวดเร็วเป็นระยะเวลาสั่นๆ และบางครั้งอาจควบคุมไม่ได้ ร่างกายจะสร้างเอนดอร์ฟินสูงสุดในระยะนี้ เพื่อให้คุณแม่สามารถทนทานต่อความเจ็บปวดที่รุนแรงที่สุด
- ผลของฮอร์โมนนี้ ทำให้คุณแม่ยังคงมุ่งสนใจในตัวเอง บางครั้งอาจจะหลงลืม เช่น จำสถานที่หรือบุคคลไม่ค่อยได้ (Disorientation) คุณแม่จะหายใจถี่และเร็วขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการปวด คุณแม่บางคนอาจร้องครวญคราง เอะอะโวยวายขอให้คุณหมอช่วยทำอะไรก็ได้เพื่อให้หายปวด เช่น ขอยาแก้ปวด ขอให้ผ่าตัดคลอด เป็นต้น
- สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ผู้ดูแลการคลอดต้องเข้าใจให้ดีว่าอาการต่างๆ เหล่านี้เป็นปลิดทิ้งโดยเฉพาะเมื่อเห็นหน้าลูก คุณแม่บางคนอาจมีอาการบางอย่างร่วมด้วย เช่น หนาวสั่นเป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน สะอึก หรือมีความรู้สึกปวดหน่วงๆ เมื่อศรีษะทารกเคลื่อนต่ำลง และเคลื่อนไปจนถึงช่องทางคลอด
- ในช่วงปลายระยะนี้มดลูกกำลังเปลี่ยนหน้าที่ จากการขยายปากมดลูกเป็นการผลักดันทารกให้ออกมาทางช่องคลอด ซึ่งสามารถจะทราบได้โดยคุณแม่เริ่มมีความต้องการอยากเบ่งถ่ายเหมือนถ่ายอุจจาระ
ระยะที่ 2 ของการคลอด : ระยะเบ่งคลอด (Second stage of labor) ระยะนี้เริ่มตั้งแต่ปากมดลูกเปิดหมด จนถึงทารกคลอดออกมาทั้งตัวแล้ว แบ่งออกเป็น 2 ระยะย่อย
- ระยะย่อยที่ 1 : ระยะเฉื่อย (Lalent phase)
นับว่าเป็นความชายฉลาดของร่างกายคุณแม่ที่สร้างระยะเฉื่อยขึ้นมา หลังจากที่ปากมดลูกเปิดหมดแล้ว ที่ผมกล่าวเช่นนี้เนื่องจากช่วงระยะเวลาของการเจ็บครรภ์คลอดในระยะที่ 1 นั้นกินเวลาค่อนข้างยาวนานในการคลอดลูกคนแรกจะใช้เวลาประมาณ 12-14 ชั่วโมง แต่ในการคลอดลูกคนต่อไปช่วงเวลานี้ก็จะสั้นลงเหลือประมาณ 6-8 ชั่วโมง
- คุณแม่ลองคิดดูสิครับว่า สมมติว่าถ้าเราไปออกกำลังกายเล่นกีฬาอะไรสักอย่าง ผมว่าเอาแค่ 1 ชั่วโมงก็พอแล้ว ร่างกายจะอ่อนระโหยโรยแรงมากขนาดไหน แล้วจะเทียบอะไรกับการเจ็บครรภ์คลอดที่เป็นสุดยอดของความเจ็บปวดของมนุษย์ที่คุณแม่เผชิญอยู่เป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง ร่างกายคุณแม่จะอ่อนเพลียขนาดไหน
- นี่แหละครับ ผมถึงได้กล่าวว่า เป็นความกรุณาของธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์โลกเพศหญิงโดยเฉพาะที่กำหนดให้มีการพักผ่อนสักหน่อย ก่อนที่จะเบ่งคลอดซึ่งก็ต้องใช้พลังงานอย่างมหาศาลอีกเช่นกัน ในการที่จะเบ่งคลอดทารกออกมาลืมตาดูโลกได้
- ระยะเฉื่อยนี้ ไม่นานหรอกครับ กินเวลาประมาณ 10 ถึง 30 นาทีเท่านั้น ระยะนี้มดลูกจะหดตัวน้อยลงหรือไม่หดรัดตัวเลย ผู้ดูแลการคลอดที่ไม่เข้าใจหลักการนี้ ก็อาจจะพยายามให้คุณแม่เบ่งตั้งแต่ปากมดลูกเปิดหมด ทั้งๆ ที่คุณแม่ไม่อยากเบ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำหลังจากระยะเฉื่อยแล้ว มดลูกก็จะเข้าสู่ระยะย่อยที่ 2 ต่อไป
- ระยะย่อยที่ 2 : ระยะเร่ง (Active phase) ซึ่งระยะนี้คุณแม่มีความรู้สึกอยากเบ่งเหมือนกับการเบ่งถ่ายอุจจาระ เนื่องจากเป็นสรีรวิทยาอย่างเดียวกับการถ่ายอุจจาระโดยมีศรีษะของทารกมากดตรงกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน คล้ายๆ กับอุจจาระลงมากดบนกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเช่นเดียวกัน
- ในระยะนี้มดลูกจะมีการหดรัดตัวทุกๆ 3-5 นาที เป็นระยะเวลาประมาณ 45-70 วินาที คุณแม่จะมีความรู้สึกอยากเบ่งเองโดยธรรมชาติโดยไม่ต้องมีใครสอน คุณแม่จะภูมิใจมากที่สามารถเบ่งเองจนลูกคลอดออกมาได้ ความภูมิใจและความมั่นใจนี้เองที่เสริมกำลัง (Empower) แก่คุณแม่ในการดูแลลูก เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตลอดจนเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในครอบครัวได้เป็นอย่างดี
- คุณแม่ท้องแรกอาจใช้เวลาในระยะที่ 2 ประมาณมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ชั่วโมงหรือมากกว่า แต่ในท้องต่อๆ ไประยะย่อยนี้จะสั้นลงโดยจะใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง
ระยะที่ 3 ของการคลอด (Third stage of labor)
เริ่มต้นตั้งแต่หลังจากทารกคลอดออกมาทั้งตัวแล้วจนถึงรกออกมาหมด มดลูกจะหดรัดตัวไม่สม่ำเสมอ คุณแม่จะรู้สึกแน่นๆ เมื่อรกลอกตัวและเคลื่อนตัวคลอดออกมา คุณแม่บางคนอาจรู้สึกปวดแบบบีบๆ หรืออยากเบ่งเมื่อรกเคลื่อนต่ำลงมาในช่องคลอด ในระยะนี้ส่วนใหญ่รกสามารถคลอดเองได้จากการทำงานของออกซิโทซินที่ช่วยให้มดลูกหดรัดตัวบีบไล่รกออกจากโพรงมดลูก ระยะนี้กินเวลาประมาณ 20 นาที
คุณแม่ครับ !
เป็นยังไงบ้างครับ คุณแม่รู้สึกเหนื่อยไปกับการคลอดที่กำลังจะเกิดหรือเกิดผ่านไปแล้วไหมครับ มีผู้รู้กล่าวว่า ถ้าสมมติว่าผู้ชายสามารถคลอดได้ จะไม่สามารถทนต่อความเจ็บปวดได้ดีเท่ากับที่ผู้หญิงทมี่เจ็บครรภ์คลอดได้ ผมถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่มอบให้แก่คุณแม่ในการทำหน้าที่ดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์โลกให้อยู่ต่อไปในอนาคต
ในฉบับต่อไป ผมจะขอแนะนำคุณแม่ไปพบกับการดูแลคุณแม่ตามแนวทางการคลอดวิถีธรรมชาติ ในระยะก่อนเจ็บครรภ์คลอด สวัสดี.
[ ที่มา..นิตยสารรักลูก ปีที่ 23 ฉบับที่ 267 เมษายน 2548 ]
http://www.clinicrak.com/messages/viewmessage.php?id=5051&maintype=บทความเกี่ยวกับผู้หญิง...ผู้หญิง
|
การคลอดวิถีธรรมชาติ - Active Birth
|