ในระยะที่ 1 ของการคลอด คุณอาจจะชอบให้คุณแม่อยู่บนเตียงและนอนหงาย เพื่อที่จะทำให้ง่ายต่อการตรวจและการติดตามความคืบหน้า มีการวิจัยมากมายที่เสนอแนะว่า ท่านอนหงายจะกระทบกระเทือนระบบการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูก และสามารถลดความแรงของการบีบของมดลูกอีกด้วย ท่ายืนหรือท่านอนตะแคงข้างจะเป็นท่าที่มีประโยชน์กับคุณแม่มากกว่า ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อน ควรสนับสนุนให้คุณแม่เดินไปเดินมา หรือเลือกที่จะอยู่ในท่าอื่น ๆ ที่ทำให้คุณแม่รู้สึกสบาย สามรถแช่น้ำหรืออาบน้ำโดยใช้ฝักบัวในช่วงเจ็บครรภ์คลอดได้ พยายามให้คุณแม่ทุกคนเปลี่ยนไปอยู่ในท่าต่าง ๆ ที่คุณแม่รู้สึกสบายที่สุดในแต่ละระยะของการเจ็บครรภ์คลอด เพราะว่าไม่มีท่าใดท่าหนึ่งที่จะทำให้คุณแม่สบายตลอดทั้งช่วงเจ็บครรภ์คลอดได้
ผลดี
การยืนหรือการนอนตะแคงข้างมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความแรงของการหดรัดตัวของมดลูก และความคืบหน้าของการเจ็บครรภ์คลอด
อาจเจ็บปวดน้อยลงในช่วงเจ็บครรภ์คลอด ถ้าคุณแม่สามารถขยับตัวและเดินไปเดินมาได้
ลดโอกาสที่จะต้องมีการเร่งคลอด
ผลเสีย
การที่จะให้คุณแม่สามารถขยับตัว เดินไปเดินมา และเปลี่ยนท่าต่าง ๆ ในระยะที่ 1 ของการคลอดนั้น ไม่มีผลเสียใด ทั้งสิ้น
References:
1. Department of Reproductive Health and Research. WHO (1999). Care in Normal Birth: a practical guide. World Health Organization
2. World Health Organization. The WHO Reproductive Library. Issue 3.2000. WHO/RHR/RHL/3/00. Oxford: Update Software