มีเด็กจำนวนมากที่เริ่มได้รับเชื้อไวรัส HIV จากคุณแม่ของเขา อัตราความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูก ( Mother-to-child transmission (MTCT)) จะมีอยู่ประมาณ 25-25% ในประเทศแอฟริกา แต่ในปัจจุบันได้มีวิธีการแทรกแซงต่าง ๆ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงของ MTCT ได้ เราจะนำบางวิธีมาพูดคุยกัน และจะเน้นถึงวิธีการที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย
1. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Breastfeeding) คุณแม่ที่มีเชื้อ HIV อาจไม่ค่อยอยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถ้าคุณแม่สามารถหานมแบบอื่นที่ปลอดภัยเพื่อจะเลี้ยงลูกแทนได้ แต่ถ้าจำเป็นหรือคุณแม่อยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เราควรสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก หลังจากนั้นก็ค่อยเพิ่มอาหารเสริมจนมีการหย่านม
2. การเลือกผ่าท้องคลอด (Elective caesarean section) มีหลักฐานที่เสนอแนะว่า การผ่าคลอดสามารถลดความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่ไปสู่ลูก (MTCT) อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย การผ่าคลอดสามารถเพิ่มความเสี่ยงให้กับคุณแม่ได้ และมีการแนะนำว่า ให้ใช้ยาเนวิแรพพีน (Nevirappine) หรือ ชิโดวูดีน (Zidovudine) ในระยะสั้นได้
3. การให้วิตามิน และอาหารเสริมต่าง ๆ (Vitamins and nutritional supplements) ผลการวิจัยในประเทศที่กำลังพัฒนาบ่งบอกว่า ความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูกมีความสัมพันธ์กับการที่คุณแม่ขาดวิตามินเอ การเสริมวิตามินเอ อาจลดความเสี่ยงได้ แต่ก็ยังต้องมีการวิจัยมากขึ้นก่อนที่จะประเมินผลดีของวิธีการนี้
4. การทำความสะอาดช่องคลอด (Vaginal cleaning ) การถ่ายทอดเชื่อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูกส่วนใหญ่มักจะคิดกันว่า เกิดขึ้นตอนคลอด และมีการแนะนำให้ทำการฆ่าเชื้อในช่องคลอดก่อน และ/หรือ ในช่วงเจ็บครรภ์คลอด เพราะคิดว่าอาจช่วยป้องกันการถ่ายทอดเชื้อได้ ยาที่ใช้ชำระล้างเชื้อโรค เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อ (คลอเฮคซซิดีน Chlorhexidine) นั้นอาจมีผลดีมาก เพราะว่ายาจะมีปฎิกริยากับเชื้อไวรัส HIV แต่เรายังต้องมีการปฎิบัติและค้นคว้าทางการรักษามากขึ้นก่อนที่จะบอกได้ว่า วิธีนี้มีประสิทธิภาพหรือไม่
5. แอนทิรีโทรไวรัล ( Antiretrovirals ) การบำบัดรักษาโรคแบบหลายวิธีร่วมกัน โดยการใช้ยาอย่างน้อย 3 ชนิดพร้อมกัน สามารถชะลอการดื้อยาได้ และในปัจจุบัน วิธีนี้กำลังเป็นที่นิยมในประเทศที่มีรายได้สูง (high-income countries) ส่วนในกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย (Low-income settings) เรายังมีวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่ได้ผลดีเหมือนกันซึ่งวิธีการรักษานี้มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า และใช้ง่ายกว่า เช่น การใช้เนวิราพีน (Nevirapine) กับ ซิโดวูดีน (Zidovudine) เนวิราพีนเป็นยาประเภทแอนทิริโทรัล (Antiretrovirals) ที่มีการดูดซับได้อย่างรวดเร็วเวลารับประทานทางปาก และเป็นตัวยาที่มีปฎิกริยาอย่างดีในการต่อต้านเชื้อไวรัส เป็นไปได้ที่เราสามารถใช้ยาแอ็นทิรีโทรไวรัลครั้งเดียวทางปากให้กับคุณแม่ในช่วงเจ็บครรภ์และคลอด การให้คุณแม่ทานยาเนวิราพีน 1 เม็ด และให้ทารกหลังคลอดหนึ่งครั้ง เป็นวิธีการที่ได้ผลมากที่สุดในการลดความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูก ยาเนวิราพีนยังมีราคาถูกกว่ายาซิโดวูดีนมากด้วย ตัวยาซิโดวูดีนก็เป็นยาแอนทิรีโทรไวรัลอีกชนิดหนึ่งที่สามารถป้องกันการสืบพันธ์ของเชื้อไวรัสได้ และมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูก ยาตัวนี้ไม่ปรากฏว่ามีผลข้างเคียงในทารกไปจนถึงอายุ 4 ขวบ
6. การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Artificial rupture of membranes) ได้มีการระบุว่า การเจาะถุงน้ำคร่ำมีความเสี่ยงในการถ่ายทอดเชื้อไวรัส HIV จากแม่สู่ลูก การหลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำอาจเป็นวิธีที่ง่ายในการลดความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อได้ การหลีกเลี่ยงโดยวิธีนี้อาจทำให้มีปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น การเจ็บครรภ์คลอดนานเกินไป ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการถ่ายทอดเชื้อไวรัส HIV ได้เหมือนกัน เรายังต้องมีการปฎิบัติและค้นคว้าทางการรักษามากขึ้นก่อนที่จะประเมินผลดีของการหลีกเลี่ยงการเจาะถึงน้ำคร่ำนี้ หรือการทิ้งระยะเวลาให้นานขึ้นก่อนที่จะเจาะถึงน้ำคร่ำ
References:
1. Brocktehurst P. interventions aimed at decreasing the risk of mother-to-child transmission of HIV infection (Cochran© Review), in: The Cochrane Library. Issue 2, 2001. Oxford: Update Software.
2. Dabis F. Mseltati P, Newetl ML, Halsey N, Van de Perre P. Peckham C et al. Methodology of intervention trials to reduce mother-to-child transmission of HIV with special reference to developing countries. AIDS 1995; 9 Suppi A:S67-S74.
3. Dunn D. Newell M-L, Ades A, Peckham C, Risk of human immunodeficiency virus type 1 transmission through breast-feeding. Lancer 1992:240:585-8.
4. Landesman SH, Kal'ish LA, Bums DN, M'mkoff H, Fox HE, Zorilla C et a!. Obstetrical factors and the transmission of human immunodeficiency virus type 1 from mother to child. New England Journal of Medicine 1996;334:1617-23.
5. Semba RD, Miotti PG, Chiphangwi JD, Soon Al, Canner JK, Dallabetta GA et al. Maternal vitamin A deficiency and mother-to-child transmission of HIV-1. Lancet 1994;343:l593-7.
6. World Health Organization. The WHO Reproductive Library- Issue 4, 2001. WHO/RHR/HRP/RHL/3/00. Oxford: Update Software.