จะทำอะไรได้อีกบ้างเมื่อเริ่มเจ็บครรภ์คลอด
-
ควรพักอยู่ที่บ้านก่อนในระยะเวลานานเท่าที่คุณแม่มีความสุขและพอใจที่จะอยู่ที่บ้าน
ไม่ต้องรีบมาโรงพยาบาลตั้งแต่เริ่มเจ็บครั้งแรก
- ควรหาคนมาอยู่เป็นเพื่อน เช่น
สามี ญาติ หรือเพื่อนสนิท
- ขอให้คนที่มาอยู่ด้วยนวดหลังให้
-
ใช้วิธีประคบด้วยความร้อนและความเย็น เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด
-
ดื่มน้ำตามความต้องการของร่างกาย
- อมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ
และทาริมฝีปากด้วยวาสลีนเพื่อกันริมฝีปากแห้ง
- ทานอาหารอ่อนๆ ได้เมื่อหิว
-
เดินไปมา การที่คุณแม่อยู่ในท่าลำตัวตั้งจะช่วยให้มดลูกบีบตัวได้ดี
และศีรษะของลูกสามารถเคลื่อนต่ำลงมาในต่ำแหน่งพร้อมคลอดได้
ท่านี้จะทำให้เจ็บน้อยลงด้วย
- ในช่วงระหว่างการหดรัดตัวของมดลูก
ควรพักอยู่ในท่าลำตัวตั้งขึ้น การใช้หมอนหนุนเยอะๆ
หรือพิงบนตัวของบุคคลที่มาอยู่เป็นเพื่อน
จะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่
-
พยายามอย่าเกร็งตัวทุกครั้งที่มดลูกมีการหดรัดตัว
-
อย่ากลั้นหายใจเมื่อเจ็บครรภ์ ควรหายใจให้ช้าๆ ตามความสบายของตัวเอง
-
ทุกครั้งที่มดลูกมีการหดรัดตัวควรคิดเสมอว่า ความเจ็บหมดไปอีกทีแล้ว
และใกล้จะได้เห็นหน้าลูกแล้ว
- อย่าลืมถ่ายปัสสาวะในช่วงเจ็บครรภ์
เพราะจะช่วยให้คุณแม่สบายขึ้น
และช่วยให้ศีรษะของลูกเคลื่อนต่ำลงมาในเชิงกรานมากขึ้น
-
ในช่วงเดินทางไปคลอดที่โรงพยาบาลหรือคลีนิก พยายามอยู่ในท่าลำตัวตั้งขึ้น
เพราะถ้านอนลง (หลังขนานกับพื้น) จะทำให้คุณแม่เจ็บครรภ์มากขึ้น
และยากที่จะควบคุมตัวเอง
เมื่อไปถึงโรงพยาบาลหรือคลีนิก
ควรทำอย่างไร
- ขอให้มีคน
(บุคคลใกล้ชิด) อยู่กับคุณแม่คลอดเวลา
-
พยายามเดินไปมาให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ดื่มน้ำบ่อยๆ
-
ถ้าคุณแม่ถ่ายอุจจาระมาแล้ว ควรบอกพยาบาลว่าไม่จำเป็นต้อง
สวนอุจจาระ
- ขอไม่โกนขนบริเวณหัวหน่าว
เพราะนอกจากคุณแม่จะรู้สึกอายและไม่สบายตัว
คุณแม่จะรู้สึกคันมากเวลาขนเริ่มขึ้นอีกด้วย
-
คุณแม่อาจนั่งพักบนเก้าอี้โดยใช้ท่าต่างๆ
- ถ้าคุณแม่ต้องอยู่บนเตียง
พยายามอย่านอนหงาย ให้อยู่ในท่าลำตัวตั้งขึ้น
เพราะจะช่วยให้คุณแม่เจ็บปวดน้อยลง
- เมื่ออยู่ในช่วงที่ต้องเบ่ง
ควรสังเกตว่าร่างกายพร้อมที่จะเบ่งหรือยัง ขณะเบ่งอย่ากลั้นหายใจนาน
เพราะลูกกำลังรอออกซิเจนจากการหายใจของคุณอยู่